กบนอกกะลา : กรุบกริบ กับ เกรียบกรอบ ช่วงที่ 1/4 (11 พ.ค.60)

กบนอกกะลา : กรุบกริบ กับ เกรียบกรอบ ช่วงที่ 1/4 (11 พ.ค.60)

รับชม 7 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
เผยแพร่เมื่อ 11 พ.ค. 2017 ข้าวเกรียบ แต่ละพื้นที่จะเรียกต่างกัน ภาคเหนือจะเรียก ข้าวแคบ ภาคอีสานจะเรียกข้าวโป่ง ภาคกลางจะเรียกข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา ข้าวเกรียบงำมะพร้าว ภาคใต้จะเรียกกือโปะ ข้าวเกรียบนั้นมีมานานเกือบกว่า100 ปี ในสมัยที่ยังอุมดสมบูรณ์ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ชาวนาปลูกข้าวมีข้าวเหลือ หรือตำข้าวแล้วข้าวแตกหักไม่เป็นเม็ดสวยงาม ก็จะนำมาทำเป็นแป้ง ทำเป็นขนมของว่างทานเล่น หรือแม้แต่ทำเป็นของทำบุญเทศกาลต่างๆ ชาวประมงเค้าหาปลามาได้ปลามาเยอะก็นำมาแปรรูปด้วยวิธีการถนอมอาหารตามแต่ที่ได้รับสืบทอดกันมา เพื่อไม่ให้เหลือทิ้ง หรือปล่อยให้เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์ ก็นำแป้งข้าวที่โม้ได้มาผสมคลุกเคล้าเข้ากับส่วนผสมต่างๆ ทำเป็นแผนให้สุกด้วยการนึ่ง แล้วนำไปตากแดดจัดๆ ก็กลายเป็นข้าวเกรียบที่สุดแสนจะอร่อย สำหรับข้าวเกรียบนั้นไม่ได้มีแค่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศโดยเฉพาะในโซนเอเชียที่มีการปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลังก็จะมีการทำข้าวเกรียบเช่นเดียวกัน อย่างในประเทศญี่ปุ่นข้าวเกรียบจะเรียกว่า senbei ทำมาจากข้าวญี่ปุ่น อินเดียเรียกว่า poppadoms ทำมาจากแป้งถั่ว เวียดนามเรียกว่า แบ๋งดา ทำมาจากแป้งข้าวเหนียว มาเลเซีย เรียกว่ากรือโปะทำมาจากแป้งมันสำปะหลังและอีกหลากหลายประเทศที่มีการทำข้าวเกรียบรับประทาน ซึ่งส่วนผสมหลักของการทำข้าวเกรียบนั้นก็จะเป็นแป้ง เนื้อสัตว์ และธัญพืชต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่น กบนอกกะลาจึงออกหาความรู้เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวเกรียบโดยเริ่มจาก “ข้าวเกรียบกุ้ง” ซึ่งเป็นข้าวเกรียบที่เราคุ้นชินมาเนินนาน และเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี โดยบุกไปยังร้านเก่าแก่ที่ผลิตข้าวเกรียบกุ้งมานานกว่า 100 ปี ที่ร้านสินอุดุลยพันธ์ ที่แห่งนี้ทำให้เรารู้ว่าข้าวเกรียบกุ้งนั้นไม่ใช่ว่าจะทำกันง่ายๆ เพราะต้องเลือกกุ้งที่นำมาทำก็ต้องเป็นกุ้งทะเลที่มีราคาแพงมากๆ ซึ่งกุ้งที่ว่านี้ก็คือกุ้งหางแดง หรือกุ้งแชบ๊วยนั่นเอง จากนั้นก็ขึ้นเหนือไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับข้าวเกรียบของคนเหนือจังจังหวัดอุตรดิตถ์ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตข้าวแคบมากที่สุดในประเทศไทย มาที่นี่ทำให้เรารู้ว่าข้าวคบนั้นมีรสชาติที่หลากหลาย ละปรับเปลี่ยนการกินไปตามยุกต์ตามสมัย ได้เห็นว่าข้าวแคบนำมาพันหมี พันพักทานเป็นอาหารไดอย่างอร่อย ส่วนภาคอีสาน “ข้าวโป่ง” หรือ “ข้าวเกรียบว่า” ถือเป็นข้าวเกรียบหวาน ที่คุ้นชินอีกประเภทหนึ่ง แต่การที่จะได้มาซึ่งข้าวโป่งนั้นไม่ใช่ง่ายๆ เพราะต้องใช้เวลานานมากกว่าจะได้ข้าวเกรียบสักหนึ่งแผ่น เพราะต้องนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำนานถึง 8-10 ชั่วโมง จากนั้นนำมานึ่ง แล้วนำไปตำ ระหว่างตำก็ใส่ส่วนผสมที่เรียกว่าน้ำเถาตดหมา ที่มาช่วยทำให้ข้าวเกรียบฟูกรอบอร่อย ปิดท้ายด้วยข้าวเกรียบมะพร้าวงาดำยังจังหวัดเพชรบุรี ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่ http://tvburabha.com/ https://www.facebook.com/tvburabha https://instagram.com/tvburabha https://www.facebook.com/kobnokkala
แสดงเพิ่ม