กบนอกกะลา : ราชรถราชยาน (1) ช่วงที่ 3/4 (28 ก.ย.60)

กบนอกกะลา : ราชรถราชยาน (1) ช่วงที่ 3/4 (28 ก.ย.60)

รับชม 2 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
กว่า 9 เดือนที่กบนอกกะลาได้ติดตามการบูรณะปฏิสังขรณ์และจัดสร้างขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ วันที่ 21 กันยายน 2560ที่ผ่านมา ประตูโรงราชรถ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ก็ได้เปิดออก พร้อมกับจัดพิธีบวงสรวงและอัญเชิญราชรถและราชยานหลังการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ออกจากโรงราชรถเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ราชรถ ราชยาน หนึ่งในเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยศเพื่ออัญเชิญพระบรมโกศจาก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวังเคลื่อนไปยัง พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง โดยในพระราชพิธีครั้งนี้ได้ใช้ราชรถ ราชยานทั้งสิ้น 6 องค์ เป็นการจัดสร้างใหม่ 2 องค์คือ ราชรถปืนใหญ่ และ พระราเชนทรยานน้อย อีก 4 องค์เป็นส่วนของการบูรณะปฏิสังขรณ์ คือ พระมหาพิชัยราชรถ ราชรถน้อย ๙๗๘๔ พระที่นั่งราเชนทรยาน พระยานมาศสามลำคาน ในการจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ และ การบูรณะปฏิสังขรณ์ ราชรถราชยานในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการระดมสรรพวิชาช่าง ทุ่มกำลังกาย และ ใจ ของเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน ประกอบไปด้วย กรมศิลปากร ที่จะดำเนินงานบูรณะซ่อมแซมงานศิลปกรรมและ ทำความสะอาดด้วย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ กรมสรรพาวุธทหารบก ตรวจสอบสภาพโครงสร้าง ของราชรถ ระบบกลไกการเคลื่อนที่ ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ และกรมอู่ทหารเรือ จัดตั้งโครงสร้างนั่งร้านที่ใช้ในการบูรณะ และจัดทำเชือกฉุดชักราชรถดังนั้นกบนอกกะลาจึงต้องขอกระจายกำลังกันเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แห่งแผ่นดินนี้ไว้ให้มากที่สุดทั้งการติดตามการจัดสร้างราชรถปืนใหญ่ ณ กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ยลโฉม รถต้นแบบที่ใช้ในการจัดสร้าง พร้อมทั้งดูกระบวนการจัดสร้างราชรถ ที่ต้องศึกษาหาข้อมูล รถต้นแบบย้อนไปในสมัยรัชการที่ 6 รวมไปถึงการออกแบบโครงสร้างและ กลไกระบบ การขับเคลื่อน และท้ายที่สุดกับการประดับตกแต่งงานศิลปกรรม โดยสำนักช่างสิบหมู่กรมศิลปากร เพื่อจัดสร้างให้ราชรถปืนใหญ่นั้นงดงามสมพระเกียรติตามแบบโบราณราชประเพณีด้วยเพราะราชรถ ราชยาน นั้นถูกใช้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะพระมหาพิชัยราชรถที่ ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งก็มีอายุมากถึง 200 ปีแล้ว ดังนั้นการบูรณะในครั้งนี้จึงไม่ได้ คำนึงถึงความเสียหายของลวดลายและทองที่ประดับเท่านั้น แต่ยังต้องสำรวจความเสียหายและ สึกหรอให้ลึกถึงเนื้อเหล็กที่เป็นโครงสร้างหลัก จึงได้มีการทดสอบความแข็งแรงของ พระมหาพิชัยราชรถ ซึ่งการทดสอบนั้นจะดำเนินการอย่างไร และใครเป็นผู้ทดสอบ เชื่อได้ว่าน้อยคนนักจะได้เคยเห็นอย่างแน่นอน ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่ http://tvburabha.com/ https://www.facebook.com/tvburabha https://instagram.com/tvburabha https://www.facebook.com/kobnokkala
แสดงเพิ่ม