รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 695 สงครามการค้า/สงครามค่าเงิน | TMBAM

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 695 สงครามการค้า/สงครามค่าเงิน | TMBAM

รับชม 3 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
สหรัฐฯ ขึ้นภาษีเหล็ก.. สงครามการค้า หรือสงครามค่าเงิน ? “สงครามการค้า” เป็นจุดสนใจของนักลงทุน ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM กลับให้ความสำคัญกับ “สงครามค่าเงิน” เพราะมีแรงจูงใจและความเป็นไปได้มากกว่า จึงน่าจะกระทบต่อการตัดสินใจลงทุน มากกว่าสงครามการค้า สหรัฐฯ มีดุลการค้า “ขาดดุล” คือ นำเข้ามากกว่าส่งออก สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ เสียเปรียบดุลการค้ากับจีน ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯในอดีตสหรัฐฯ มักกล่าวโทษว่า จีนบิดเบือนค่าเงินหยวน (ตั้งใจกดหยวนอ่อนกว่าที่ควรจะเป็น) แต่ถึงแม้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นมาก เมื่อเทียบกับ USD (+10% จากจุดต่ำสุดปลายปี 2016) สหรัฐฯก็ยังคงมีแนวโน้มขาดดุลการค้ามากขึ้น เพราะการบริโภคแข็งแกร่ง กระตุ้นการนำเข้า นอกจากนี้ นโยบายคลังผ่อนคลาย (ลดภาษี) ก็ยิ่งกระตุ้นความต้องการ และน่าจะเพิ่มยอดขาดดุลการค้าในอนาคต .. แนวคิด “สงครามการค้า” (กีดกันการนำเข้า) จึงเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงของทรัมป์ และพอได้เข้ามาเป็น ปธน.แล้ว ทรัมป์ก็ออกมาตรการในเชิงกีดกันมาเรื่อยๆ จนล่าสุดที่สร้างความฮือฮาคือ การตั้งกำแพงภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมินัม US Twin Deficits (สหรัฐฯ ขาดดุลทั้ง บัญชีเดินสะพัด และ งบประมาณ) ภาวะขาดดุลการค้า เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง ซึ่งทำให้สหรัฐฯขาดดุล “บัญชีเดินสะพัด” (เป็นลูกหนี้สุทธิ) ขณะที่การลดภาษี ส่งผลให้ “งบประมาณ” ขาดดุลมากขึ้น (รายจ่ายมากกว่ารายรับ) ... บางทฤษฎีเชื่อว่า Twin Deficits นี่เอง เป็นปัจจัยสำคัญที่กด USD ให้มีแนวโน้มอ่อนค่าทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ในปัจจุบัน ก็น่าจะสอดคล้องกับทฤษฎีดังกล่าว “กีดกันการค้า” หรือ “กดค่าเงิน (ให้อ่อน)” “กีดกันการค้า” เช่น ตั้งกำแพงภาษีนำเข้า เพิ่มต้นทุนแก่ผู้นำเข้าสินค้ารายการนั้นๆ (บริษัทสหรัฐฯ และ ผู้บริโภคชาวสหรัฐฯ เองนั่นแหละ) นอกจากนี้ สหรัฐฯยังต้องเผชิญกระแสต่อต้าน ตลอดจนมาตรการตอบโต้ทางการค้า จากประเทศอื่นๆ เช่น ตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ บ้าง ... เราได้เห็นการ “ยกเว้น” กำแพงภาษีนำเข้าเหล็ก ให้แก่บางประเทศบ้างแล้ว จึงดูเหมือนว่า มาตรการกีดกันดังกล่าว อาจจะเป็นเพียง “เครื่องมือต่อรอง” ของทรัมป์ มิได้ตั้งใจ “เอาจริง” อย่างที่เคยขู่ “กดค่าเงิน (ให้อ่อน)” แม้นานาชาติต่างให้สัตยาบันว่า จะไม่ทำ “สงครามค่าเงิน” (กดเงินของตัวเองให้อ่อนค่า เพื่อเอาเปรียบการค้า) แต่ธนาคารกลางหลักๆ (G-3: FED, ECB, BOJ) ก็มักออกมาสื่อสารเพื่อ “บริหารจัดการ” ความคาดหวังของตลาด เกี่ยวกับแนวโน้มนโยบายการเงิน ไปในทางที่กดหรือชะลอสกุลเงินของตนเอง ไม่ให้แข็งค่ามาก ดังที่เห็นบ่อยๆ เช่น การส่งสัญญาณว่า “ไม่รีบ” เข้มงวดการเงิน (ขึ้นดอกเบี้ย, ถอน QE) ... “สงครามค่าเงิน” (แบบเบาๆ) จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เกิดผลในวงกว้าง และมักเผชิญแรงต้านรวมถึงผลข้างเคียง น้อยกว่าสงครามการค้า USD น่าจะผ่านจุดแข็งค่าสุดไปแล้ว และน่าจะอ่อนค่าได้อีก ปัจจัยสนับสนุนแนวคิดนี้คือ ดอลลาร์เพิ่งกลับอ่อนค่ามาได้แค่ปีเศษ หลังจากแข็งค่ามา 5 ปี (2012-2016) ตลาดรับรู้ความคาดหวังต่อ เส้นทางการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ไปมากแล้ว (ไม่ค่อยมีอะไรให้ลุ้น) ประเทศอื่นๆทยอยปรับนโยบายการเงินเข้มงวดมากขึ้น และล่าสุด US Twin Deficits EUR, JPY ใครจะยอมแข็งค่า? ...อาจไม่มีใครยอมใคร... หุ้น (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีอย่างหนึ่ง) ของทั้งสองประเทศ “ชอบ” ให้เงินของตัวเอง “อ่อนค่า” เพราะไม่ใช่แค่สนับสนุนภาคส่งออก แต่เงินอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุน “เงินเฟ้อ” ของญี่ปุ่น, ยูโรโซน ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าของ BOJ, ECB ตามลำดับ ... ตรรกะนี้ น่าจะเพิ่มแรงจูงใจให้ธนาคารกลางทั้งสอง ทำสงครามค่าเงิน (แบบเบาๆ) กันต่อไป โดยปรับนโยบายการเงินแบบค่อยๆ และระมัดระวังไม่ให้แซงหน้าเพื่อน หรือดำเนินนโยบายแบบ Behind The Curve (ขึ้นดอกเบี้ยตามหลังเงินเฟ้อ) ซึ่งช่วยกดดอกเบี้ยแท้จริงให้ต่ำ และกดเงินให้อ่อนค่า สกุลเงิน EM ยังอ่อนค่ากว่าในอดีต หากจะกลับไปอยู่ในระดับเดิมเมื่อหลายปีก่อน อาจจะต้องแข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ +50% (วัดจากดัชนี J.P. Morgan Emerging Market Currency) ... สกุลเงิน EM มีโอกาสแข็งค่าขึ้น เพราะเงินทุนไหลเข้ามาแสวงหา “ผลตอบแทนแท้จริง” ใน EM ซึ่งน่าจะสูงกว่าใน G-3 (ดอกเบี้ยแท้จริงของ G-3 ถูกกดดันจากสงครามค่าเงิน ดังที่กล่าวไปแล้ว) สรุปกองทุนที่ TMBAM มอง Overweight 1. Global Income “คำตอบในหลายสภาวะตลาด” 2. Global Bond “ตลาดบอนด์น่าจะพ้นช่วงเลวร้ายสุดไปแล้ว” 3. Asian Bond “คุณภาพคุ้มราคา” 4. Emerging Active Equity “Upward Spiral” 5. JUMBO 25 “SET Index 2,000 อาจแค่ทางผ่าน” 6. Gold Singapore “พร้อมรับเหตุไม่คาดฝัน” 7. Global Property “พอร์ตลงทุนอสังหาฯ ระดับโลก” ปัจจุบัน เราเน้นกระจายการลงทุน 1-3 ตราสารหนี้ต่างประเทศ 4 หุ้นต่างประเทศ (ตลาดเกิดใหม่) 5 หุ้นไทย 6-7 สินทรัพย์ทางเลือก ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM โทร. 1725
แสดงเพิ่ม