รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 742 อนาคตพลังงานไทย | PTT

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 742 อนาคตพลังงานไทย | PTT

รับชม 4 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
เชื้อเพลิงประเภทใดเหมาะสมกับประเทศไทยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและนอกประเทศ ปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณาคือ 1. โลกนี้มีเชื้อเพลิงหรือแหล่งพลังงานอะไรอยู่บ้าง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ยังมีเหลือมาก ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียนซึ่งราคาปรับลงมามากท่ามกลางประสิทธิภาพที่สูงขึ้นมาก 2. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก หรือ Global Climate Change ซึ่งปัจจุบันมีมาตรการระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นที่ทำให้แต่ละประเทศต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจยังไม่มีผลบังคับในวงกว้างแต่เชื่อว่าอนาคตจะมีการบังคับใช้อย่างเข้มข้นขึ้น ฉะนั้นเราเองควรต้องเตรียมตัวปรับโครงสร้างการใช้พลังงานและโครงสร้างการผลิตพลังงานเพื่อให้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนหากเราพยายามรักษาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเฉลี่ยไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสตามที่ตกลงกันที่ปารีสเมื่อ 2 ปีที่แล้ว นั่นหมายความว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกต้องลดลงมาเหลือศูนย์ซึ่งจะมีผลกระทบต่อประเทศทั้งพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ประเด็นที่ 3. คือการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยี อาทิ เรื่องรถไฟฟ้า เรื่องแบตเตอรี่ สิ่งเหล่านี้มาแล้วชัดเจนและแน่นอนจะมีผลกระทบต่อการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งภาคขนส่งและภาคการผลิตไฟฟ้า ถ้าเราต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแปลว่าเราต้องลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลงอย่างมากและราคา LNG (Liquefied Natural Gas) ขณะนี้ที่ซื้อขายบนสัญญาระยะยาวนั้นปรับลดลงมาอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันกับถ่านหินได้โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ฉะนั้น LNG ถือเป็นทางเลือกที่สำคัญของพลังงานที่ละเลยไม่ได้ อีกประเด็นที่สำคัญคือ พลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นอีก 1 ทางเลือกเชื้อเพลิงที่ต้นทุนลดลงมาเยอะมาก ทั้งพลังงานลง พลังงานแสงอาทิตย์ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลสามารถทำที่ใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นโซล่าร์ฟาร์ม แต่ลม อาจมีข้อจำกัดด้านสถานที่แม้ช่วงหลังเราเห็นต้นทุนปรับลดลงมาพอสมควร จึงเชื่อว่าประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านพลังงานลงมและแสงอาทิตย์อยู่ แต่ขอเพียงรัฐดูแลกติกา ออกกฎให้ชัดเจนโดยเฉพาะการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ก็จะทำให้บ้านทุกแห่งโรงงานทุกแห่งติดตั้งโซล่าร์เซลและลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าได้ ส่วนเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV เราเห็นต้นทุนลดลงไปเยอะมากจากการที่สามารถลดต้นทุนของแบตเตอรี่ไฟฟ้าได้ ปัญหาหลักของรถไฟฟ้าก็คือแบตเตอรี่ที่ราคาแพง แม้ว่าปัจจุบันราคาปรับลงแล้ว คาดว่าแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของโลกจะเพิ่มขึ้นพอสมควร และแน่นอนไฟฟ้านั้นควรมาจากพลังงานหมุนเวียนนะ ไม่ใช่ว่า เราลดการใช้น้ำมันไปใช้รถไฟฟ้าแต่เราใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ก็คงจะไร้ประโยชน์ ประเทศไทยมีการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง เช่นโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ซึ่งใช้เศษวัสดุต่างๆ ที่เป็นชีวมวลเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเช่น แกลบ ชานอ้อน เศษไม้ รากไม้ยางพาราหลังจากโค่นต้นยางไปแล้ว หรือแม้กระทั้งไบโอแก๊ศ หรืออก๊สชีวภาพหากพูดถึงสิ่งที่มาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ก็มีเอทานอล ซึ่งผลิตจากอ้อยและมันสำปะหลัง ส่วนไบโอดีเซล มาจากปาล์มน้ำมันสู่น้ำมันเชื้อเพลิง ปัจจุบัน ราคาเอทานอลประมาณ 23.50 บาทต่อลิตร ไม่รวมภาษี ซึ่งราคาสูงกว่าราคาน้ำมัน ส่วนไบโอดีเซลที่เป็น B100 ราคาประมาณ 25 บาทต่อลิตร ไม่รวมภาษีก็สูงกว่าราคาน้ำมัน ฉะนั้นสิ่งที่ควรจะทำเลยคือพัฒนาเอทานอลกับไบโอดีเซล B100 ให้ราคาลดต่ำลงมาเพื่อแข่งขันกับน้ำมันเชื้อเพลิงอื่นได้ ทุกวันนี้รัฐบาลยอมจ่ายราคาเอทานอลและไบโอดีเซลสูงกว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกพืชพลังงาน จริงๆ แล้วบริษัทน้ำมันไม่ได้รับประโยชน์ตรงนี้ กล่าวโดยสนุป ในอนาคตหากมีการใช้ไบโอดีเซลและเอทานอลเพิ่มขึ้นก็จะต้องพัฒนาเรื่องต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้
แสดงเพิ่ม