รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 751 Correction แก้ไขให้ถูก(ลง) | TMBAM

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 751 Correction แก้ไขให้ถูก(ลง) | TMBAM

รับชม 4 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
Correction แก้ไขให้ถูก(ลง) "การปรับฐาน" (Correction) คือ การที่ดัชนีปรับตัวลงเกิน -10% ดัชนีหุ้นหลายตลาดเข้าสู่การปรับฐานในปีนี้ หุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ปรับฐานครั้งล่าสุดในเดือน ก.พ. หุ้นไทย SET Index เข้าสู่ช่วงปรับฐาน ตั้งแต่เดือนที่แล้วจนถึงปัจจุบัน โดยดัชนียังต่ำกว่าจุดสูงสุดเกิน -10% หุ้นตลาดเกิดใหม่ (EM) กำลังอยู่ในช่วงปรับฐานเช่นกัน นับเป็นครั้งแรกของวัฏจักรขาขึ้นรอบนี้ (ตลาดกระทิงเริ่มตั้งแต่ ม.ค. 2016) โดยความกังวลเฟดขึ้นดอกเบี้ย ตลอดจนสงครามการค้า สหรัฐฯ-จีน กดดัชนี MSCI Emerging Markets ร่วงลง -17.78% จากจุดสูงสุดปลาย ม.ค. ถึงจุดต่ำสุดปลายเดือน มิ.ย. จนเกือบเข้าสู่ภาวะหมี (bear market คือ -20% จากจุดสูงสุด) ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้างในช่วงต้นเดือนนี้ *ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงผลตอบแทนในอนาคต* EM ปรับฐานครั้งนี้ เกิดขึ้นในปีที่ 3 ของตลาดกระทิง คล้ายๆกับตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับฐานครั้งใหญ่ (-19.39%) ในปี 2011 ซึ่งเป็นปีที่ 3 ของ bull market ท่ามกลางบรรยากาศการลงทุนที่ปกคลุมด้วย สารพัดความกังวลทั้งในและนอกประเทศ อาทิ นักการเมืองสหรัฐฯตกลงกันไม่ได้เรื่องงบประมาณ จนถูกหั่นเครดิตลงจาก AAA แผ่นดินไหว/สึนามิที่ญี่ปุ่น วิกฤติหนี้ยูโรโซน เป็นต้น โดยหลังปรับฐาน ดัชนี S&P 500 รีบาวด์กลับขึ้นมาจนปิด ณ สิ้นปี 2011 ในระดับใกล้เคียงกับต้นปี จากนั้นตลาดก็ปรับตัวขึ้นต่อไป ยาวนานจนถึงปัจจุบัน โดยมีการปรับฐานอีก 3 ครั้งในปี 2015, 2016 และครั้งล่าสุดช่วงต้นปีนี้ แม้เรามิอาจล่วงรู้ว่า EM จะเป็นเช่นนั้นด้วยหรือไม่? ทว่าทั้งสองเหตุการณ์ (2011 สหรัฐฯ, 2018 EM) อาจมีจุดร่วมกันตรงที่ นักลงทุนจำนวนมากได้กำไรจากตลาดกระทิงช่วง 2 ปีแรก เมื่อเผชิญความไม่แน่นอนในปีที่ 3 จึงตัดสินใจเทขายทำกำไรได้ไม่ยาก ประกอบกับระดับราคาหุ้นสูงขึ้นมาก จึงต้องมี CORRECTION "แก้ไขราคา" ให้ถูกลง เพื่อให้ตลาดปรับตัวขึ้นต่อไปได้ Correction แก้ไขให้ถูก(ลง) ยกตัวอย่าง EM บางตลาด P/E ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตทั้ง 5 ปี และ 10 ปี ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลงทุน ปัจจัยระยะยาว (+) ศักยภาพการเติบโตสูงกว่า DM, ราคาหุ้นยังถูกกว่า DM (-) ความเสี่ยงการเมือง/ภูมิรัฐศาสตร์ สูงกว่า DM ปัจจัยเหล่านี้มีอยู่แล้ว แทบไม่หายไปไหน (เช่น การเมืองก็แทบไม่เคยนิ่ง) แต่จุดสนใจของข่าว อาจเน้นย้ำแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน แล้วแต่ sentiment ตลาดในแต่ละช่วงเวลา ปัจจัยระยะสั้น (+) เฟดค่อยๆขึ้นดอกเบี้ยอย่างระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้จุดสมดุล, ดอลลาร์กลับมามีแนวโน้มอ่อนค่า (-) ดอลลาร์รีบาวด์แข็งค่า, เฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าเดิม เราเชื่อว่า ปัจจัยลบระยะสั้นเกี่ยวกับ เฟด, ดอลลาร์ น่าจะผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้วใน Q2 และต่อไป EM น่าจะได้แรงหนุนจากปัจจัยบวก (เฟดไม่รีบ, ดอลลาร์กลับอ่อนค่า) ดอลลาร์น่าจะผ่านจุดสูงสุดของวัฏจักรไปแล้ว ...และน่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อไป *นี่คือปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญมาก สำหรับการลงทุน EM* เราย้ำมุมมอง "ดอลลาร์อ่อนค่า" ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดย USD แข็งค่าใน Q2 น่าจะเป็นแค่ระยะสั้น ทั้งนี้ หากตลาดกลับมาคาดหวังว่า ธนาคารกลางอื่นๆ (ที่ไม่ใช่เฟด) เช่น ECB, BOE, BOJ กำลังจะขึ้นดอกเบี้ย/เลิก QE ก็จะหนุนสกุลเงิน EUR, GBP, JPY แข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกดดอลลาร์อ่อนค่า TMBAMแนะนำกองทุนที่เน้นหุ้นในตลาดเกิดใหม่ สมมุติฐานสำคัญ + สงครามการค้า "ยืดเยื้อ" แต่ไม่ "ยับเยิน" + ดอกเบี้ยเฟด เข้าใกล้จุดสมดุลมากขึ้น + ดอลลาร์ น่าจะกลับสู่แนวโน้มอ่อนค่า กองทุนที่ overweight ในปัจจุบัน TMB Emerging Active Equity TMB Asian Growth Leaders TMB India Active Equity ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุน TMBAM โทร. 1725
แสดงเพิ่ม