RauyHoon EP 15 08 61 TMBAM + งานประชุม ASEM Meeting Sustainable Marine Environment + เตรียมความพร้อม

RauyHoon EP 15 08 61 TMBAM + งานประชุม ASEM Meeting Sustainable Marine Environment + เตรียมความพร้อม

รับชม 2 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
จับตาประเด็นสหรัฐ-ตุรกีให้ดีใน “โต้ระกี” ต้นสายปลายเหตุ ของความปั่นป่วนครานี้ ก่อนถึง “จุดพีค” เมื่อวันจันทร์ “ปลายเหตุ” ปธน.ทรัมป์ 10 ส.ค. ประกาศกร้าว สั่งให้ปรับขึ้นภาษีนำเข้า เหล็กกล้า และ อลูมินัม จากตุรกี เพิ่มเป็นเท่าตัว หลังเจ้าหน้าที่รัฐบาลตุรกีกลับจากวอชิงตัน “มือเปล่า” ไม่มีความคืบหน้าในการเจรจา เพื่อคลี่คลายประเด็นขัดแย้งกับสหรัฐฯ กรณีควบคุมตัวศิษยาภิบาลชาวอเมริกัน Andrew Brunson ด้วยข้อกล่าวหาพัวพันรัฐประหาร (ไม่สำเร็จ) ในปี 2016 เดือนที่แล้ว ทรัมป์เคยขู่ตุรกีว่า จะใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงหาก Brunson ไม่ได้รับอิสระ และต่อมา (1 ส.ค.) สหรัฐฯก็ประกาศคว่ำบาตร รมว.ยุติธรรม และ รมว.มหาดไทย ของตุรกี ...ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯแย่ลงมาก ช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นปัจจัยลบเชิง sentiment กดเงินลีราอ่อนค่า หุ้นร่วงลง ยีลด์พันธบัตรตุรกีพุ่งขึ้น แต่นั่นก็น่าจะเป็นแค่ปลายเหตุ “ต้นสาย” เสถียรภาพด้านต่างประเทศของ ตุรกี ย่ำแย่เป็นอันดับต้นๆในตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานอ่อนแอ เช่น ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เป็นหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศมาก ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับต่ำ จนตกเป็นเป้าโดนทุบค่าเงินช่วงไตรมาสสอง คู่กันกับ อาร์เจนตินา เงินเฟ้อสูงและเร่งขึ้น (ก.ค. 15.85% สูงกว่าเป้า 5% มากๆ และคาดว่าจะยังเกินเป้าไปอีก 3 ปี) ส่งผลให้ “ดอกเบี้ยแท้จริง” ต่ำลง กระตุ้นเงินทุนไหลออก กดดันให้ ธ.กลางตุรกี “ควร” ขึ้นดอกเบี้ยให้แรงกว่าที่ทำไปแล้ว (ปีนี้ขึ้นดอกเบี้ยตัวหลักไป 2 ครั้งรวม +9.75% เป็น 17.75%) เพื่อเบรกเงินเฟ้อ หนุนดอกเบี้ยแท้จริง สกัดเงินทุนไหลออก ...แต่ตลาดกังวลว่า ธ.กลางตุรกี จะสามารถทำ “สิ่งที่ควร” ได้มากและเร็วแค่ไหน เนื่องจาก ปธน. Erdogan กล่าวอย่างเปิดเผยว่า “ไม่ชอบให้ขึ้นดอกเบี้ย” แถมแก้กฎหมายเพิ่มอำนาจ ปธน. แทรกแซง ธ.กลาง และตั้งลูกเขยเป็น รมว.คลัง หลังชนะเลือกตั้ง มิ.ย. บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุน แบบที่ไม่รู้ว่าจะทำให้ตกต่ำกว่านี้ได้อีกไหม? ความเห็น: “วิกฤติ” เกิดเฉพาะที่ตุรกี แต่ “โอกาส” เปิดเป็นวงกว้าง ค่าเงิน “ลอยตัว” จึงไม่เป็น “ระเบิดเวลา” การอ่อนค่าของเงินลีรา (TRY) อย่างรวดเร็ว/รุนแรง ในระยะสั้นทำให้สินทรัพย์ตุรกี (หุ้น, ตราสารหนี้ ฯลฯ) มีราคาถูกลง และหากลงไปจนต่ำกว่าจุดสมดุลระหว่าง โอกาส - ความเสี่ยง ก็จะดึงดูดผู้ซื้อเข้ามา ทำให้ราคามีเสถียรภาพ ณ จุดสุมดุลใหม่ ...ปัจจัยดังกล่าวเป็นจุดต่างสำคัญ ที่น่าจะทำให้ตลาดปรับสมดุลได้เร็ว เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติภาคธนาคารตุรกี ปี 2000-01 ซึ่งใช้นโยบายผูกค่าเงิน... นอกจากนี้ ในระยะถัดไป ผลจากเงินอ่อนค่า น่าจะช่วยหนุนการส่งออก/ท่องเที่ยว ลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และกลับมาหนุนเงินลีราแข็งค่าขึ้น เสี่ยงลุกลามแต่ยังหลีกเลี่ยงได้ ...อย่าช้า ช่องทางการลุกลามสำคัญๆ - ธนาคารต่างชาติ ที่เป็นเจ้าหนี้ของตุรกี 3 อันดับแรก อยู่ในยูโรโซน ได้แก่ 1. สเปน 2. ฝรั่งเศส 3. อิตาลี ...ยีลด์พันธบัตรอิตาลี (ซึ่งรัฐบาลประชานิยมอาจจัดงบขาดดุลมากขึ้น) พุ่งขึ้นทะลุ 3% สวนทางยีลด์พันธบัตรเยอรมนี (สินทรัพย์ปลอดภัย) ซึ่งปรับตัวลงในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สะท้อนความกังวลดังกล่าว - ตลาดเกิดใหม่ นักลงทุนกังวลวิกฤติอาจลามไปยูโรโซน จึงเทขาย EUR หนุน USD แข็งค่า ส่งผลกดดันค่าเงินและสินทรัพย์ EM ตามระเบียบ ปัญหาแบบนี้มีทางออก คือ การเจรจา เพื่อทุเลาความขัดแย้งกับสหรัฐฯ นอกจากนี้ ธ.กลางตุรกี ควรขึ้นดอกเบี้ยอีก ให้แรงพอที่จะเบรกเงินเฟ้อ ...ปีนี้ก็ขึ้นไป 2 ครั้งแล้ว (แม้ ปธน. ไม่ชอบ) ก็น่าจะขึ้นได้อีกถ้าจวนตัว “ตลาดของผู้ซื้อ” ใช้เหตุผล+ความกล้า ชอบ Emerging Active Equity, Asian Growth Leaders เพราะระดับราคาถูกลงอีก (จากที่ถูกอยู่แล้ว) และ India Active Equity เพราะตลาดอินเดียน่าจะทนปัจจัยภายนอกได้ดี
แสดงเพิ่ม