รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 801 ทิศทางตลาดหุ้น เดือนพฤศจิกายน | บล.ไอร่า

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 801 ทิศทางตลาดหุ้น เดือนพฤศจิกายน | บล.ไอร่า

รับชม 61 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
บล. ไอร่ามองว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ผันผวนและน้ำหนักอิงไปทางลง ตามปัจจัยต่างประเทศ โดยเฉพาะความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีหน้า หลังได้รับผลกระทบจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู่ค้าอื่นๆ โดยเฉพาะจีน ซึ่ง 1 ในสัญญาณที่เริ่มเห็นผลกระทบเป็นราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง ล่าสุด WTI ลดลงมาอยู่ในระดับประมาณ 55 USD ส่วนของ Dubai และ Brent อยู่ที่ประมาณ 64 – 65 USD ลดลงจากระดับ ประมาณ 70 – 80USD ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งกดดันราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน นอกจากนี้ยังได้รับปัจจัยกดดันจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเฟด หลังการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟดส่งสัญญาณซึ่งค่อนข้างแน่นอน และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ว่าในปีนี้ขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง โดยคงเหลือการประชุมครั้งสุดท้ายในวันที่ 18 – 19/12/61 (คาดสิ้นปี’61 อยู่ที่ 2.25 – 2.50%) และยังมีแผนปรับขึ้นต่อเนื่องในปี’62 อีกประมาณ 3 ครั้ง ส่วนประเด็นในประเทศมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ – 3Q/61 ส่วน Fund Flow ยังเป็นแรงขายสุทธิของต่างชาติต่อเนื่อง YTD มูลค่าขายสุทธิสะสม สูงกว่า 275,000 ล้านบาท แม้จะได้รับการชดเชยเข้ามาบ้างจากสถาบันในประเทศ แต่ภาพรวมน้ำหนักยังน้อยเมื่อเทียบกับปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ด้านราคาน้ำมันก็มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น หลังลดลงต่อเนื่องนับจากต้นเดือนที่ผ่านมา แต่คาดการปรับขึ้นเป็นไปอย่างจำกัด โดยยังได้รับปัจจัยกดดัน หลังกลุ่มโอเปกปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี’62 ลดลง 70,000 บาร์เรล/วัน คาดขยายตัวเพียง 1.29 ล้านบาร์เรล/วัน และเป็นการปรับลดตัวเลขคาดการณ์เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน แต่คาดว่าการผลิตน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มโอเปก จะเพิ่มขึ้น 2.23 ล้านบาร์เรล/วันในปี’62 โดยเพิ่มขึ้น 120,000 บาร์เรล/วันจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้า ซึ่งทำให้เกิดความกังวล “ภาวะน้ำมันล้นตลาด” จากก่อนหน้านี้กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันส่งสัญญาณว่าจะปรับลดปริมาณการผลิตลง 1.0 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี’62 พร้อมกับซาอุดีอาระเบียส่งสัญญาณจะลดการส่งออกน้ำมันลง 500,000 บาร์เรล/วันในเดือนธ.ค. จากระดับของเดือนพ.ย. ซึ่งการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ในช่วงนี้เราแนะนำเพียงเก็งกำไรตามราคาน้ำมัน ส่วนประเด็นในประเทศ แนะระวังแรงขายทำกำไร (Sell on Fact) หลังหมดช่วงประกาศงบ – 3Q/61 พร้อมกับแรงกดดันจาก Fund Flow จากแรงขายสุทธิของต่างชาติ แต่คาดได้รับการชดเชยเข้ามาบ้างจากเม็ดเงิน LTF ที่ทยอยเข้ามาในช่วงปลายปี มูลค่าไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท ขณะที่การประชุม กนง. วานนี้ ส่งสัญญาณอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น หลังมติ กนง. ล่าสุด 4 : 3 (เพิ่มจาก 2 เสียง เมื่อการประชุมเดือน ก.ย.) เห็นด้วยให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมส่งสัญญาณว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะทยอยลดความจำเป็นลง หลังแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง แม้ส่งออกและการท่องเที่ยวจะชะลอตัว และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมาย2.5±1.5% (ล่าสุด ต.ค.’61 อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.23%) โดย กนง. เหลือการประชุมอีก 1 ครั้ง 19/12/61 ซึ่งเร็วสุดอาจมีโอกาสเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้ อย่างไรก็ตามมองเป็น Sentiment บวก ต่อกลุ่มธนาคาร โดยเฉพาะต่อ Net Interest Margin ปรับตัวดีขึ้น โดยหุ้นไทย กรอบทางเทคนิค มองแนวต้านแรก 1,702 จุด การลงทุนคงต้องเลือกกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุน หลัง Board ของ EEC กำหนดเป้าหมายการลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC มูลค่า 500,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ได้แก่ (1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง หลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่ารวมกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งยื่นซองไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (12/11/61) คาดทราบผลในเดือนธ.ค. และลงนามสัญญาร่วมทุนในช่วงต้นปีหน้า หุ้นที่น่าสนใจในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เช่น ITD, CK และ STEC เป็นต้น (2) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นการลงทุนจากต่างชาติหลังเริ่มมีความชัดเจนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และคาดความต้องการที่ดินในนิคมฯ มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ หุ้นที่น่าสนใจ เช่น AMATA และ WHA เป็นต้น (3) กลุ่มธนาคาร จากการปล่อยสินเชื่อ และภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น คาดส่งผลดีต่อ Net Interest Margin ปรับเพิ่มขึ้น หุ้นที่น่าสนใจ เช่น BBL และ KTB ซึ่งสินเชื่ออิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สัดส่วนสูงถึง 88% และ 85% ตามลำดับ นอกจากนี้แนะเก็งกำไรระยะสั้นกลุ่มท่องเที่ยว ที่ได้ Sentiment บวกจาก “Amazing Thailand GrandSale” ตั้งช่วงวันที่ 15/11/61 – 15/1/62 ซึ่งช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงปลายปี หลังจำนวนนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะ นทท.จีน ในช่วง 1 – 2 เดือนที่ผ่านมาชะลอตัว หุ้น Top Pick ที่ AIRA นำเสนอในวันนี้แนะนำเป็น “BBL“ • ภายใต้ภาพรวมเศรษฐกิจปี’62 ที่คาดยังได้รับปัจจัยหนุนจากโครงการลงทุนภาครัฐ และคาด BBL มีความน่าสนใจและได้เปรียบเมื่อเทียบกับธนาคารคู่แข่ง ทั้ง (1) ต้นทุนเงินฝากที่ต่ำ และ (2) ฐานเงินทุนที่ใหญ่ ซึ่งสามารถรองรับการปล่อยสินเชื่อขนาดใหญ่ได้ ทำให้เลือก BBL เป็นหุ้น Top Pick ในกลุ่มธนาคาร และคาดเป็นโอกาสในการเข้าสะสมในช่วงที่ราคาปรับลดลงตามภาพรวมตลาด • BBL เป็น 1 ใน 2 ธนาคารขนาดใหญ่ ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นมากที่สุด ภายใต้สัดส่วนสินเชื่ออิงดอกเบี้ยลอยตัว สูงถึง 85% ของสินเชื่อรวม • ขณะที่ความร่วมมือกับ AIA ช่วยหนุนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยของ BBL ทั้ง Commission Fee และ Profit Sharing คาดเข้ามาชดเชยรายได้ค่าธรรมเนียมจากสงครามฟรีค่าธรรมเนียม คาด BBL ได้รับผลกระทบน้อยกว่าธนาคารคู่แข่ง คาดกำไรสุทธิเฉลี่ย 3 ปีข้างหน้า เติบโต ประมาณ 6.0% ราคาเป้าหมายปี’62 ที่ 242 บาท อิง PBV 1.03X
แสดงเพิ่ม