รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 821 ลดหย่อนภาษีมนุษย์เงินเดือน ปี 2562 ต้องรู้อะไรบ้าง

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 821 ลดหย่อนภาษีมนุษย์เงินเดือน ปี 2562 ต้องรู้อะไรบ้าง

รับชม 15 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
สรุปรายการลดหย่อนภาษีปี 2562 สำหรับมนุษย์เงินเดือน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มแรก "ส่วนตัว" 1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวจำนวน 60,000 บาท : เป็นค่าลดหย่อนสำหรับ ทุกคนที่มีเงินเดือน และยื่นภาษี สามารถใช้สิทธิได้เลย เพียงยื่นแบบแสดงรายการก็สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนนี้ได้ 2. ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 60,000 บาท: เป็นค่าลดหย่อนของคู่สมรสที่ต้องจดทะเบียนสมรส ในกรณีที่คนใดคนหนึ่งไม่มีรายได้ หรือ หรือมีเงินได้และเลือกยื่นภาษีรวมกันในการคำนวณภาษี 3. ค่าลดหย่อนบุตรจำนวน 30,000 บาท: ลูก 1 คน ก็สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท ลูกหลายคน ก็ใช้สิทธิได้ตามจำนวนจริงเลย (มีเงื่อนไข บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี) 4. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท : ต้องจ่ายเป็น "ค่าฝากครรภ์" และ "ค่าคลอดบุตร" สูงสุดต่อครรภ์ คือ 60,000 บาท 5. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ คนละ 30,000 บาท : คุณพ่อคุณแม่ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท (เราสามารถใช้สิทธินี้ได้ ) เงื่อนไขนิดนึงว่า คุณพ่อคุณแม่จะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือรับรอง (แบบ ลย.03) ว่าลูกคนไหนเป็นคนเลี้ยงดู และสิทธิในการเลี้ยงดูนั้นจะสามารถใช้สิทธิได้เพียงครั้งเดียว 6. ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ จำนวน 60,000 บาท : ถ้าเราเป็นผู้ดูแลคนพิการตามกฎหมาย (ใบรับรองแพทย์) เราสามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ปล. ว่าคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่นำมาลดหย่อนนั้นต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี กลุ่มที่ 2 "กลุ่มประกันชีวิต และการลงทุน" สำหรับ การลดหย่อนประเภทนี้ เพราะได้ 2 เด้ง คือ กำไรจากการลงทุน + สิทธิประโยชน์ทางภาษี เรื่องรายการลดหย่อน 1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท : 2. เบี้ยประกันสุขภาพ: ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากแบบมีประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท 3. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อ-แม่ : ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 15,000 บาท ปล. เราสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี 4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ: สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 200,000 บาท (ง่ายๆก็สอบถามตัวแทนประกันชีวิต (ที่ไว้ใจได้) ที่เราทำประกันไว้) 5. กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF): ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามที่จ่ายจริงและสูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท เงื่อนไขการลงทุน ต้องถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 7 ปีปฎิทินด้วยครับ สำหรับการซื้อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559 - 31 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไปครับ ปี 2562 นี้ซื้อ LTF ได้เป็นปีสุดท้าย 6. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF): ลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกินจำนวน 500,000 บาท RMF มีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดังนี้ ต้องซื้อติดต่อกันทุกปี (แต่ถ้าผิดเงื่อนไขสามารถผิดได้ 1 ปี) ต้องซื้อเป็นจำนวนขั้นต่ำ 5,000 บาท อย่างน้อย ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี และอายุครบ 55 ปี จึงจะสามารถขายได้ 7. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. /กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน: นำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท 8. เงินประกันสังคม เช่น เงินเดือน 15,000 บาท (จ่ายประกันสังคม ทุกเดือน 750 บาท) เท่ากับ เราจ่ายประกันสังคม อยู่ที่ 9,000 บาท ก็เอาเงินส่วนนี้มาหักลดหย่อนภาษีได้ เงื่อนไขระบุ สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท 9. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวน 13,200 บาท กลุ่มที่ 3 "รัฐบาล...จัดให้" ค่าลดหย่อนที่ช่วยกระตุ้น เศรษฐกิจ 1. สิทธิประโยชน์ต่อเนื่องของค่าลดหย่อนช็อปช่วยชาติ ก็อย่างที่พอเคยได้ยินกัน สั้นๆ คือ ตามเงื่อนไขเวลา และสินค้า ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท 2.ดอกเบี้ยกู้ยืมพื่อซื้อที่อยู่อาศัย: ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกินจำนวน 100,000 บาท น่าจะคุ้นเคย สำหรับใครที่ซื้อคอนโด หรือ บ้าน (โดยเฉพาะ ซื้อบ้าน หลายคนกู้ร่วม วิธีการ คือ แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท) กลุ่มที่ 4 "ลดหย่อน .. คนดี" ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า 1. เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และช่วยเหลือสังคม 2. เงินบริจาคให้ "สถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพสูง" 3. ค่าลดหย่อนบริจาคสถานพยาบาลรัฐ (เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า) กลุ่มลดหย่อนภาษีตามปกติ เงินบริจาคทั่วไป [เงินบริจาคให้วัด เงินบริจาคน้ำท่วม ภัยพิบัติ] รายละเอียดเข้าไปตรวจสอบได้ที่ http://www.rd.go.th/publish (ฝากใส่ Link) กรมสรรพากรกำหนดให้คนที่มีเงินได้ แม้จะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ต้องยื่นแบบแสดงรายได้แต่การยื่นภาษี ไม่ได้แปลว่าเราต้องเสียภาษี
แสดงเพิ่ม