รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 831 เศรษฐกิจไทยกับคนรุ่นใหม่

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 831 เศรษฐกิจไทยกับคนรุ่นใหม่

รับชม 3 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
เศรษฐกิจไทย กับคนรุ่นใหม่ "วินัยทางการออม เป็นเรื่องที่เราต้องสร้าง เพื่อรองรับสังคมสูงวัย" "ระบบการศึกษา เป็นการศึกษาตลอดชีวิต" เมื่ออาชีพนั้น ถูกทดแทนด้วย AI เรากลับมาเรียน ฝึกทักษะใหม่ๆ คนรุ่นใหม่ ของพรรคประชาธิปัตย์ คุณไอติม {พริษฐ์ วัชรสินธุ } New Dem รุ่นใหม่ ของพรรคประชาธิปัตย์ ผู้สมัคร ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ เขต บางกะปิ - วังทองหลาง (แขวงพลับพลา) ที่มีความเห็นว่าอายุไม่แม้ว่าอายุยังน้อย แต่มุมมองและนโยบายที่นำเสนอสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ น่าสนใจมากทีเดียว มุมมองทางเศรษฐกิจ ผ่านสายตา .... คุณ ไอติม ผมมองว่าเศรษฐกิจไทย เผชิญกับปัญหา 2 เรื่อง ปัญหาระยะสั้น (ตัวหนา) คือ ปัญหาปากท้อง ซึ่งเรื่องนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ ต้องการเข้ามาสร้างหลักประกันรายได้ให้กับคนไทยทุกกลุ่ม สำหรับคนค้าขาย "บัตรคนจน" ผมมองว่ายังไม่ได้ประสิทธิผล เพราะสิทธิประโยชน์ ที่ใช้ ถูกจำกัดแค่บางร้านค้าที่เข้าในโครงการประชารัฐเท่านั้น ทำให้เงินถูกกระจุกแค่บางแห่ง เงินไม่ได้ถูกหมุนเวียนในพื้นที่ แค่เพียงบางร้านค้า เราเลยมีแนวคิดต้องการเข้ามาปรับเปลี่ยน ให้เป็น "เงินอุดหนุน 800 บาทต่อเดือน" ที่จะช่วยให้เม็ดเงินนี้ หมุนเวียนในเศรษฐกิจ โดยมาในรูปแบบของเงินสด ใช้จ่ายได้ทุกที่ ในกลุ่มเกษตรกร เราก็มีโครงการประกันรายได้ เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรไม่ถูกผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำลง ในระยะยาว (ตัวหนา) เพื่อให้เศรษฐกิจไปไกล หรือ เทียบเท่า ประเทศเพื่อนบ้าน ผมว่า เศรษฐกิจไทยและ โลก เจอปัญหาใหม่ๆ และความท้าทายใหม่ๆ ที่เราต้องปรับตัว "เทคโนโลยี" เป็นความท้าทาย ที่เราต้องมาดูกันว่า ทำอย่างไรให้ ให้ทุกคนเข้าถึง พรรคประชาธิปัตย์ตั้งเป้าให้ 99% ของประชากรไทย ต้องเข้าถึง Internet เพราะตราบใดที่เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงเทคโนโลยีไม่ได้ เค้าก็จะไม่มีข้อมูลทางการเกษตร หรือ เข้าถึงตลาด ที่เป็นปัญหา และอุปสรรคสำหรับผู้ประกอบการ ความท้าทายของเทคโนโลยี ก็อาจจะมาทดแทนงานหลายๆ ประเภท เราเห็นแล้วว่าสมัยก่อน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีมาทดแทนงาน เราจะนึกถึงโรงงาน แต่ในปัจจุบัน พอมี AI เข้ามา มี Technology ที่ก้าวหน้าเข้ามางานหลายประเภทถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีได้แล้ว AI สามารถแต่งเพลงได้ เขียนบทละครได้ อีกไม่นาน อาจจะทำหน้าที่แทนนักการเมืองได้ ผมมองว่า เราต้องปรับระบบการศึกษา เป็นแนวคิด การศึกษาตลอดชีวิต เพราะผู้ใหญ่ที่ทำงานมาสายอาชีพนึง เมื่ออาชีพนั้น ถูกทดแทน สามารถกลับมาเรียน ฝึกทักษะใหม่ๆ ได้ ที่สอดคล้องกับทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการ อีกความท้าทาย คือ "สังคมสูงวัย" ในอีกไม่นาน ประชากร 1 ใน 4 ของประเทศไทย จะมีอายุสูงกว่า 60 ปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เรื่องของ "การออม" มีความจำเป็นมากขึ้น ที่คนวัยทำงาน จะต้อง ออม ชีวิตหลังเกษียณที่จะยาวนานมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีสุขภาพที่ทันสมัย เป็นความท้าทายที่สำคัญมาก เพราะในอดีตหนี้สินครัวเรือนของไทย สูงกว่าเพื่อนบ้านมาก แต่ .....อัตราการออมไม่เจริญเติบโตเทีบกับรายได้ที่สูงขึ้น หรือ รายจ่ายที่สูงขึ้น "วินัยทางการออม เป็นเรื่องที่เราต้องสร้าง เพื่อรองรับสังคมสูงวัย" คุณไอติม มองว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ มีความต้องการมากขึ้นในการเป็นเจ้านายตัวเองซึ่งนั้นแปลว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของแรงงานนอกระบบ (ธุรกิจตัวเอง หรือ Start Up) ก็จะมีผลกระทบเชื่อมโยงไปสู่ "การออม" 2 มาตรการ ที่สงเสริมการออม: - มาตรการปลูกฝังเรื่องการออม - การศึกษาให้เข้าใจทักษะด้านการเงิน เรามักพูดเสมอ ว่าการศึกษาไทย ไม่ได้สอนทักษะเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ทักษะการวางแผนการเงิน ทักษะการวางแผนภาษี เราจะทำอย่างไรให้เพิ่มทักษะในขั้นของระดับอุดมศึกษา - เพิ่มแรงจูงใจในการออม พรรคประชาธิปัตย์ เมื่อครั้งเป็นรัฐบาลในครั้งที่แล้ว ได้เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้ ได้ก่อตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อให้แรงงานนอกระบบได้มีการออมมากขึ้น สมมุติ ออม 100 บาท รัฐบาลสมทบให้อีกนิด ก็เป็นการเพิ่มแรงจูงใจตรงนั้น นี่เป็นมาตรการที่อยากจะทำต่อ รวมไปถึง การมีมาตราการสร้างแรงจูงใจการออม อย่าง RMF (มาตรการเพิ่มแรงจูงใจในการออม ในวัยเกษียณ ) ผมมองว่า อันตรายถ้าเราจะเอามาตรการนั้นออกไป เพราะขนาดบางครั้ง เราสร้างแรงจูงใจสูง แต่คนยังไม่มีวินัยการออม
แสดงเพิ่ม