รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 834 วางแผนลงทุนให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 834 วางแผนลงทุนให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

รับชม 16 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
วางแผนลงทุนให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบันการลงทุนในหลายรูปแบบ พูดถึงการลงทุนนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่ออนาคต ก่อนที่เราจะนำเงินไปลงทุนยาวๆ และไม่สามารถนำมาใช้ได้ในระยะสั้น เราควรวางแผนการเงินก่อนลงทุนอย่างฉลาด เพื่อให้การลงทุนของเราไม่สะดุดเสียกลางทาง วันนี้ ทางรายการ รวยหุ้น รวยลงทุน มีเคล็ดลับการลงทุนดีๆ มาฝากกัน อยากเริ่มลงทุน จะต้องเตรียมตัวอย่างไร? มีอยู่ 3 ขั้นตอนในการลงทุนให้ประสบความสำเร็จ: (1) การสร้างแผน เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้คนตระหนักว่าพวกเขาต้องการแผนการลงทุนที่ดีและการลงทุนที่ดี เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการเงินในระยะยาว (2) การปฏิบัติตามแผน เพราะแผนการที่ดีแต่ไม่ได้ดำเนินการ นั่นเท่ากับการไม่มีแผนเลย (3) การมีวินัยและยึดติดอยู่กับแผน เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายในระยะยาว เข้าใจว่าสภาวะตลาดจะมีทั้งช่วงดีและช่วงแย่ ควรจะมองเรื่องความไม่แน่นอนนี้อย่างไร เพราะใครๆ ก็ไม่อยากขาดทุน แผนการลงทุนที่ดีเป็นเรื่องของการมองระยะยาว และควรใช้เวลาหลายปีโดยไม่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ แต่สามารถทบทวนหรือปรับปรุงได้ปีละครั้ง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตหรือเกิดเหตุการณ์ใหญ่อื่นๆ ซึ่งการปรับเปลี่ยนแผนไม่ควรทำแค่เพื่อตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่ไม่ดี หรือเพียงแค่ได้ฟังความเห็นจากบางคนในโทรทัศน์เท่านั้น เราคงไม่ลาออกจากงาน หรือเปลี่ยนอาชีพ เพียงเพราะชีวิตกำลังดูหม่นหมอง เช่นเดียวกับการที่ไม่ควรเปลี่ยนแผนการลงทุน เพียงเพราะพอร์ตลงทุนกำลังประสบกับภาวะตลาดขาลง นั่นแปลว่าช่วงเวลาที่ย่ำแย่ ถือเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นได้ ซึ่งเราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งเหล่านั้น สร้างแผนการลงทุนอย่างไร ให้สามารถนำไปใข้ได้จริง? การสร้างแผนการลงทุนต้องทำให้เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะจะได้ไม่ถูกลืมในไม่ช้า ซึ่งสิ่งที่เสมือนเป็น “คำแถลงนโยบายการลงทุน” ของเรานี้ ควรรวมถึงความต้องการทางการเงิน เป้าหมายการลงทุน การจัดสรรสินทรัพย์ คำอธิบายเกี่ยวกับตัวเลือกการลงทุน และทำไมถึงเชื่อว่าแผนนี้จะพาเราไปสู่เป้าหมายได้ สิ่งเหล่านี้เป็นการรับประกันว่าเราจะไม่ตัดสินใจลงทุนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีวินัยเพียงพอในการอ่าน “คำแถลงนโยบายการลงทุน” นี้ ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ไม่ว่าจะวางแผนอะไรก็ตาม จะไม่สามารถช่วยได้ หากแผนดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการและทำตามอย่างเคร่งครัด เช่นเดียวกับแผนการลงทุนส่วนใหญ่ที่มักจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ เนื่องจากข้อแก้ตัวต่างๆ ซึ่งรวมถึงการผลัดวันประกันพรุ่ง การถูกดึงความสนใจไปยังเรื่องอื่น ความเกียจคร้าน การขาดความมุ่งมั่น รวมทั้งการค้นหา “ความสมบูรณ์แบบ” ที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นไปได้ว่าแผนการลงทุนที่เขียนไว้ เพียงไม่ถึงครึ่ง ได้ถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง แต่นั่นไม่ใช่สิ่งเดียวที่สำคัญ เพราะการปฏิบัติตามและความวินัยอย่างสม่ำเสมอ ก็ถือว่าเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จหลังจากดำเนินการตามแผนแล้ว เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับพอร์ตการลงทุนของเราที่อาจเปลี่ยนแปลงตาม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในรอบเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างยังสอดคล้องกับแผน มีทางลัด หรือ ตัวช่วย เรื่องการวางแผนลงทุนมั้ย? ไม่มีทางลัด “เงิน” และ “ชีวิต” เป็นเรื่องที่พัวพันกัน เพราะเราต่างแสวงหาความเป็นอยู่ที่ดี พร้อมๆ กับตั้งคำถามเรื่องเงิน เช่น จะมีเงินเพียงพอส่งลูกเรียนจนจบมหาวิทยาลัยหรือไม่? การงานหรือรายได้ มีความปลอดภัยมั้ย? รวมทั้งเรื่องประกันสังคม เงินที่จะใช้ดูแลสุขภาพ ซื้อบ้าน ซื้อรถ จะต้องยืมเงินอีกเท่าไหร่? คนทำงานส่วนใหญ่ดิ้นรนเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในชีวิต ประหยัดไว้เพื่ออนาคต รวมถึงการเกษียณอายุ การจัดการเรื่องเงินจึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด นับตั้งแต่ที่เราได้รับเงินเดือนเดือนแรก ไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต เรื่องเงินอยู่คู่กับความเครียด และการตัดสินใจลงทุนก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของความเครียดนั้น เมื่อเราประหยัด และได้เงินมาเล็กน้อย เราคงไม่ต้องการสูญเสียเงินก้อนนี้ไปด้วยการลงทุนที่ไม่ดี แต่ควรได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างน่าพอใจมากกว่า ดังนั้น การที่เราเริ่มต้นเรียนรู้ที่จะลงทุนได้เร็วเท่าไหร่ หรือยิ่งอายุน้อยๆ นั่นจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งเรื่องการเงินและเรื่องจิตใจหรืออารมณ์ การผ่านประสบการณ์มามาก จะช่วยให้เราลงทุนได้ดีขึ้นหรือไม่? เป็นเรื่องที่แย่สำหรับการเรียนรู้เกี่ยวกับการลงทุนผ่านการลองผิดลองถูก ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานเป็นปีหรือหลายปีที่ต้องจมอยู่กับความผิดหวัง ก่อนจะสามารถแยกแยะข้อมูลที่ดีออกจากสิ่งไม่ดี สถานการณ์นี้เป็นเรื่องปกติที่คนเราอยากจะเอาชนะสภาวะตลาด และหนีภาวะขาดทุน แต่เมื่อทำผิดพลาดในการลงทุนและเจอกับความล้มเหลว ก็มักจะชดเชยด้วยการทำกลยุทธ์แบบ Conservative (ไม่ค่อยกล้าเปิดรับความเสี่ยง) หรือไม่ก็ Aggressive (เสี่ยงมาก) ไปเลย ซึ่งทั้งคู่ไม่ใช่เรื่องที่ดี เมื่อคนหนุ่มสาวทำผิดพลาดในการลงทุน พวกเขาจะไม่ได้รับความเสียหายมากเท่าไหร่ เพราะมักจะเป็นเงินจำนวนน้อย และยังสามารถทำงานได้อีกนาน มีระยะเวลาที่จะเก็บเงินได้อีก แต่นี่ไม่ใช่กรณีสำหรับคนที่มีอายุเยอะ เพราะถ้าเกิดทำผิดพลาด ก็จะเป็นวิกฤตในชีวิต บทเรียนนี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องการจัดสรรสินทรัพย์ลงทุน (Asset Allocation) เพื่อการกระจายความเสี่ยง ให้เป็นไปตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน แต่ละวัย เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรมีแผนการลงทุนที่ดี ปฏิบัติด้วยความมีวินัย มุ่งตรงสู่เป้าหมาย เพื่อความสุขในระยะยาว
แสดงเพิ่ม