รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 836 ยานยนต์ไฟฟ้า ในไทย ถึงไหนแล้ว ?

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 836 ยานยนต์ไฟฟ้า ในไทย ถึงไหนแล้ว ?

รับชม 2 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
EV หรือ ยานยนต์ไฟฟ้า ย่อมาจาก ELECTRIC VEHICLE ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า แทนการใช้เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้แบบสันดาป ซึ่งเป็นการใช้พลังงานจากไฟฟ้า แทนการใช้น้ำมัน หรือพลังงานอื่นๆ ปัจจุบัน ประเทศไทยมียอดขายรถ EV ไม่ถึง 1% เมื่อเทียบกับในหลายประเทศที่มีการพัฒนาและมีทิศทางนโยบายการใช้ EV เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง - ยุโรป มีคาดการณ์ว่าปี 2573 จะมีรถที่เป็นไฮบริดหรือปลั๊ก-อิน และอีวี อยู่ที่ 20-30% ถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่ริเริ่มใช้งานอย่างกว้างขวาง มีจุด Charge ที่สะดวก (ปัจจุบันยุโรป มียอดขายเป็นอันดับที่ 3 ของโลก) - จีน ตั้งเป้าว่าปี 2593 จะใช้รถเป็นรถไฟฟ้าทั้งหมด (ยอดขายอันดับที่ 1 คือ จีน) - ญี่ปุ่น มีคาดการณ์ว่า ปี 2593 จะลดก๊าซเรือนกระจก (greenhouse effect) ให้ได้ 80% และในอนาคตอันใกล้ รถยนต์ 100 คันจะต้องเป็นรถไฟฟ้า 20-30% กลับมามองที่ประเทศไทยกันบ้าง ... ข้อมูลจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยข้อมูล EV ในประเทศไทย ดังนี้: 1) ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทใช้ไฟฟ้า 100% หรือ Battery EV (BEV) มียอดสะสม 1,444 คัน แบ่งเป็น -รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1,100 คัน -รถยนต์ไฟฟ้า 201 คัน -รถโดยสารไฟฟ้า 85 คัน -รถสามล้อไฟฟ้า 58 คัน 2) ยานยนต์ประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ Plug-in Hybrid (PHEV) ที่เติมได้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน มียอดสะสมประมาณ 11,000 คัน (ส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ค่ายยุโรป) 3) รถยนต์ประเภทเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell EV (FCEV) ยังไม่มีจดทะเบียนในประเทศไทย 4) มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ มีรวมทั้งสิ้น 220 สถานี ภาครัฐก็มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา ส่วนภาคเอกชน มีหลายบริษัทที่ให้ความสนใจ เช่น บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA)ในการตั้งสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 3,000 หัวจ่าย พร้อมโครงการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยมูลค่าโครงการ 1,092 ล้านบาท และอีกรายที่ได้รับการอนุมัติคือ บริษัท ดีทีเอส แดร็คเซิลไมเออร์ ออโทโมทีฟ ซีสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าเงินลงทุน 542 ล้านบาท ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (เพื่อป้อนบีเอ็มดับเบิลยู) นโยบายภาครัฐ หนุนพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันมีหลายมาตรการ แต่ที่เห็นเป็นผลรูปธรรมมากที่สุด คือมาตรการทางภาษี โดยมีอัตราภาษีสรรพสามิต ที่งดการจัดเก็บภาษีของอัตราเชื้อเพลิงรถยนต์ไฟฟ้า เพราะเป็นยานยนต์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ประเด็นเรื่อง ราคาที่ค่อนข้างสูง สำหรับรถ EV นั้น คงต้องจับตาดูมาตรการภาษี โดยเฉพาะ ภาษีนำเข้า เพราะหาก ภาษีนำเข้ายังสูง ราคารถประเภทนี้ ก็ยังคงเพดานสูงอยู่ นอกจากนี้ "แบตเตอรี่" เป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่จะเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตของรถ EV โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินว่า "ไทยจะขยับขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของเอเชียในการวิจัย และพัฒนาแบตเตอรี่เพื่อส่งออก" โดยเฉพาะ ตลาดหลัก คือ จีน (ปี 2018 มียอดขายรถ EV สูงถึง 1 ล้านคัน ) รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา (ปี 2018 มียอดขายรถ EV ราว 8 แสนกว่าคัน ) อนาคตรถไฟฟ้าในไทย กับนโยบายส่งเสริม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI ออกมาตรการเป็นแพคเกจสนับสนุนทางภาษี ทั้งยกเว้นและลดอากรนำเข้าอุปกรณ์สำคัญ โดยในปี 2561 ได้มีการอนุมัติการลงทุนของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์หลายค่าย อาทิ โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน มาสด้า บีเอ็มดับเบิลยู เมอร์เซเดสเบนซ์ เอ็มจี เป็นต้น - นโยบายการเปิดเสรีภายใต้กรอบข้อตกลง ASEAN-China FTA และภายใต้กรอบข้อตกลง JTEPA ซึ่งทั้งสองกรอบข้อตกลงนี้ได้รวมสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (ภายใต้กรอบ ASEAN-China FTA กำหนดต้องลดกำแพงภาษีเหลือ 0%) - มาตรการส่งเสริมรถสาธารณะและรถยนต์ของภาครัฐ เป็นรถยนต์ไฟฟ้า - นโยบายส่งเสริมการลงทุนในสถานีอัดประจุไฟฟ้า และการปรับปรุงระบบไฟฟ้า อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทยถือว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แม้ว่า EV ยังมีข้อด้อยคือราคาที่ค่อนข้างสูงและการชาร์จพลังงานนานหลายชั่วโมง วิ่งได้ระยะทางจำกัด แต่การลด “ต้นทุนทางสังคม” โดยเฉพาะในส่วนที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ถือเป็นเรื่องที่คุ้มค่าในระยะยาว ไม่นับรวมต้นทุนเชื้อเพลิงที่ประหยัดได้ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ EV ก็ยังมีข้อดี เรื่องของ ค่าเชื้อเพลิงไม่แพง อัตราค่าใช้จ่ายในเรื่องของเชื้อเพลิงซึ่งรถไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าในการชาร์จเพื่อใช้เป็นพลังงานมีราคาถูกกว่าแบบน้ำมันอยู่พอควร มีเสียงเงียบกว่ารถที่ใช้พลังงานแบบน้ำมันเชื้อเพลิง แน่นอนว่าหากบริษัทไหนปรับตัวไม่ทัน ก็อาจจะส่งผลลบ แต่นี้ก็นับเป็นโอกาสทางธุรกิจ ที่สามารถสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ ตามมาได้อีกมากมาย
แสดงเพิ่ม