รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 846 นโยบายพลังงาน- คนไทยอยากได้อะไรจากรัฐบาลใหม่

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 846 นโยบายพลังงาน- คนไทยอยากได้อะไรจากรัฐบาลใหม่

รับชม 12 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
เรื่องพลังงาน คนไทยอยากได้อะไรจากรัฐบาลใหม่? นโยบายด้านพลังงานของพรรคการเมืองต่างๆ เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่กำลังถูกจับตาในการเลือกตั้งหนนี้ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต้นทุนการประกอบกิจการ และการทำมาหากินของประชาชน จึงเป็นนโยบายที่จะมีผลโดยตรงต่อสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อพูดถึงเรื่องพลังงาน หลายคนนึกถึงภาพพลังงานทดแทน รวมไปถึงรถไฟฟ้า (EV) เพิ่มเติมไปจากเพียงแค่การใช้พลังงานหลักดั้งเดิมอย่างน้ำมัน ก๊าซ และอื่นๆ พรรคการเมืองในศึกเลือกตั้งปี 62 ต่างนำเสนอแนวนโยบายที่ค่อนข้างเหมือนกันในประเด็นการสนับสนุนเรื่องพลังงานทดแทน แต่อาจชูความสำคัญในแต่ละประเด็นปลีกย่อยที่แตกต่างกัน พรรคประชาธิปัตย์ ชูนโยบายดูแลราคาเชื้อเพลิงให้ถูกลง - ตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร - การปรับโครงสร้างกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใหม่เพื่อสอดรับนโยบาย - ชูนโยบายการเปลี่ยนรถขนส่งสาธารณะเป็นรถไฟฟ้า (EV) ทั้งหมด เพื่อลดฝุ่นควัน และให้ทันสมัย มีความสะดวกสบายมากขึ้น - นโยบายรถเก่าแลกรถใหม่ไฟฟ้า รับส่วนลด 1 แสนบาท พรรคพลังประชารัฐ จะทบทวนการแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าปี 2018 (พีดีพี) - เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจาก 20% เป็น 50% ตามกระแสเทคโนโลยีพลังงานสะอาด - ผลักดันการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดและมีราคาถูก พร้อมทำความเข้าใจกับภาคสังคมเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง - ไม่มีนโยบายดึง ปตท. ออกจากตลาดหลักทรัพย์ เพราะจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศ แต่ ปตท.ควรจะทบทวนเรื่องคณะกรรมการบริหารที่มีตัวแทนจากภาครัฐเข้ามาดำรงตำแหน่งมากเกินไป จนเกิดความไม่โปร่งใส พรรคเพื่อไทย สนับสนุนพลังงานทดแทน รวมถึงการส่งเสริมพืชเศรษฐกิจอย่าง อ้อย ที่จะมุ่งไปสู่เรื่องไบโอพลาสติก ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยให้เป้าหมายราคาอ้อย 1,100 บาทต่อตัน พรรคชาติพัฒนา เน้นให้ความสำคัญภาคอีสานเป็นพื้นที่ผลิตพลังงานทดแทน สนับสนุนการใช้วัตถุดิบการเกษตรมาแปรรูปเป็นเอทานอล ผสมเป็นแก๊สโซฮอล์จนถึงระดับ อี 85 รวมถึงพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พรรคภูมิใจไทย ชูเรื่องการนำน้ำมันปาล์มไปผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือพลังงานไฟฟ้า พัฒนาแหล่งที่จะมาใช้ทดแทนพลังงานใต้ดินอย่างปัจจุบัน เช่น ถ่านหิน น้ำมันเตา ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษ พรรคพลังธรรมใหม่ ประกาศลดราคาน้ำมัน 5 บาทต่อลิตร - ลดราคา ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) ขนาดถัง 15 กก. เหลือ 250 บาทต่อถังโดยไม่ใช้ภาษีประชาชน - ยุติการผูกขาดธุรกิจทุกประเภทที่รัฐถือหุ้น เกิน 30% โดยเข้าไปตรวจสอบสัญญาทุกฉบับ อาทิ การประมูลปิโตรเลียม หากพบมีความไม่โปร่งใสจะนำมาทบทวนใหม่ทั้งหมด - เสนอให้จัดตั้งบรรษัทพลังงานแห่งชาติ หรือ (เอ็นโอซี) แก้กฎหมายพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ ด้าน คุณมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ให้ความเห็นว่า "โครงสร้างการบริหารจัดการ" ที่เรื่องแรกที่รัฐบาลใหม่ควรเข้าไปดูแล เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบการดูแลพลังงานให้กับประชาชนให้เป็นประโยชน์มากที่สุด เรื่องของการดูแลราคาพลังงานจะไปเชื่อมโยงกับโครงสร้างภาษี ภาษีน้ำมันเป็นรายได้หลักของรัฐบาล ดังนั้น หากเราจะลดราคาพลังงาน ด้วยการลดภาษี คำถามที่ตามมา คือ เราจะหารายได้จากไหนมาชดเชย ? เรื่องใหญ่ของรัฐบาลใหม่ คือ "ความชัดเจนด้านนโยบายพลังงานของประเทศ" คุณ มนูญ ย้ำ ทุกวันนี้ มีข้อโต้แย้งกันในประเด็นพลังงานว่า การบริหารจัดการพลังงานของไทย เราจะยังคงใช้ระบบเสรี (เปิดให้มีการลงทุนของต่างชาติ และภาคเอกชน) หรือ จะเป็นรูปแบบรัฐบาลเข้าไปควบคุมดูแล ซึ่ง 2 แนวคิดนี้ มีการโต้แย้งกันมาโดยตลอด ในฝั่งผู้ประกอบการ ก็ต้องการให้เปิดเสรี มีการแข่งขันกัน แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีบางฝ่ายเรียกร้องว่า เรื่องของพลังงานเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ ดังนั้น รัฐควรเข้ามาควบคุมดูแลใกล้ชิด อย่างเราเคยได้ยินการเรียกร้องให้บริษัทพลังงานกลับมาเป็นของรัฐ รัฐก็ต้องมีความชัดเจน เพราะในขณะนี้ ยังไม่มีพรรคการเมืองไหนให้ความชัดเจน ด้านทิศทางราคาน้ำมัน ที่มีผลต่อต้นทุนการใช้ชีวิตของคนไทย คุณมนูญชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยังคงมีการนำเข้าน้ำมันสุทธิ (นำเข้า มากกว่า ส่งออก) และหากเป็นน้ำมัน เรานำเข้าสูงถึง 85% ของปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศ เมื่อเรานำเข้ามาก ราคาก็จะอ้างอิงกับราคาตลาดโลกที่ผันแปรไปตามทิศทางโลก รัฐบาลมีเครื่องมือในการกำกับดูแลราคาน้ำมัน คือ : - ภาษี - กองทุนน้ำมัน การที่จะทำให้ราคาน้ำมัน ถูก แพง ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะตั้งภาษีสูง หรือ ต่ำ ถ้าเราอยากให้ราคาน้ำมันในประเทศต่ำ รัฐบาลก็เก็บภาษีต่ำ หรือ ไม่เก็บเลย แต่ถ้าเราอยากให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับปานกลาง รัฐบาลก็เลือกจัดเก็บภาษีในอัตราที่พอเหมาะ และมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการราคาน้้ำมันไม่ให้สูงเกินไป หรือ ต่ำจนเกินไป นี่คือ สิ่งที่รัฐบาลใช้มาโดยตลอด แต่ถ้าเราเห็นว่าการจัดการโครงสร้างราคาน้ำมันแบบนี้ไม่ดี พรรคการเมืองใหม่ที่เข้ามาก็สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายได้ แต่อย่าลืมว่าไทยยังคงเป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิ คงยากที่เราจะตั้งราคาน้ำมันให้ถูกเหมือนประเทศที่ผลิตน้ำมันได้เอง
แสดงเพิ่ม