รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 903 วัดใจ กนง. รับเทรนด์ดอกเบี้ยโลกลด – เงินบาทแข็ง | SCBS

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 903 วัดใจ กนง. รับเทรนด์ดอกเบี้ยโลกลด – เงินบาทแข็ง | SCBS

รับชม 0 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ก้าวสู่บรรยากาศในช่วงครึ่งหลังของปี เศรษฐกิจที่ยังดูอึมครึม กับหลายประเด็นที่ยาวนานต่อเนื่องมาข้างปี อย่าง สงครามการค้าสหรัฐ- จีน ที่แม้ว่าจะพักยกกันไปหลังการประชุม G20 แต่ท่าทีนั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ขณะที่ นโยบายการเงินที่เรียกว่า “กลับทิศ” จากที่เข้มงวด ดูเหมือนจะเริ่มไปในทิศทางผ่อนคลายหวังกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโต ซึ่งประเด็นทิศทางดอกเบี้ยกลับทิศนี้ เรามีคำอธิบายจากทาง ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผอ.อาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ว่าแม้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยังอยู่ในระดับโอเค แต่สัญญาณที่เริ่มเป็นความเสี่ยงมากขึ้น ผลจาก "สงครามการค้า" ที่หลังจากการประชุม G20 เมื่อปลายเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาเปรียบเสมือนพักรบ แต่อย่างไรก็ตาม ความเสียหายที่ต่อเนื่องมา ส่งผลกระทบเศรษฐกิจ ซึ่งเหล่านี้สะท้อนได้จาก ดัชนีที่เกี่ยวของกับความเชื่อมั่นที่ลดลง นั้นทำให้ เฟดประเมินว่า หากความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นพร้อมที่จะใช้วิธีที่เรียกว่า “Insurance cuts” คือ การปรับลดให้ก่อน แม้ว่าเศรษฐกิจไม่ได้แย่มาก เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ ซึ่งนำไปสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ย คำถามที่หลายคนน่าจะสงสัย คือ สงครามการค้า ทำไมถึงต้องมี ทั้งๆ ที่สร้างความเสียหายให้กับทั้งสหรัฐ และ จีน เรียกว่า เจ็บตัวทั้งคู่ ในความเห็นของ ดร.ปิยศักดิ์ มองว่า สิ่งนี้คือความพยายามของสหรัฐในการสกัดไม่ให้ จีนขยับแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ผู้นำการค้าโลก โดยพยายามนำเอาเรื่องภาษี และการแบนสินค้าเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืกดดัน อย่างที่เกิดขึ้นกับ หัวเหว่ยในปีนี้ และZTE ในปีที่แล้ว ผลกระทบ "สงครามการค้า สหรัฐ-จีน" ผลกระทบทั้ง 2 ด้าน คือ กระทบเศรษฐกิจ และภาคการเงินด้วย จากมุมมองของ ดร.ปิยศักดิ์ โดยด้านเศรษฐกิจนั้น แน่นอนกระทบต่อการส่งออกของไทยแล้ว (ตั้งแต่ต้นปี จนถึงปัจจุบัน ตัวเลขติดลบไป กว่า -4%) ซึ่งตลาดที่ปรับลดลงหนัก คือ “ตลาดจีน” โดยเฉพาะสินค้าที่กลุ่มสินค้า electronic ยานยนต์ และยาง ซึ่งสินค้าเหล่านี้ผู้ส่งออกไทย ส่งออกไปให้จีน เลยโดนหางเลขจากการที่สหรัฐปรับขึ้นกำแพงภาษีจากจีนไปด้วย ประกอบกับ ดีมานด์ทั่วโลกชะลอตัวลง ผลจากสงครามการค้า ซึ่งไทยก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ผลกระทบอีกด้านคือ “ฝั่งการเงิน” นั้นคือ เรื่องของค่าเงิน ซึ่งจะเห็นว่าทิศทางค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอย่างมากตั้งแต่ต้นปีกว่า 5% ขณะที่บางสกุล อย่าง ค่าเงินวอน และค่าเงินหยวน ที่อ่อนตัวลงไปกว่า 5% ดังนั้น หากเราเทียบกับหยวน หรือ ค่าเงินวอนของเกาหลีใต้ นั้นหมายความว่าเราแข็งค่าขึ้นกว่า 10% ด้วยภาพนี้เป็นแรงกดดันต่อการแข่งขันของผู้ส่งออกไทย และผลจากค่าเงินทำให้ยอดนักท่องเที่ยวแย่ลง อันนี้ เป็นผลกระทบที่รุนแรง ดร.ปิยศักดิ์ ย้ำ ปิดท้ายด้วยคำถามว่า แล้วแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทย? “เฟดไม่ลดดอกเบี้ย ทาง ธปท. คงไม่ลด” เพราะทาง ธปท. ให้น้ำหนักกับเรื่อเสถียรภาพทางการเงินมาก ด้วยความเป็นห่วงว่าดอกเบี้ยที่ต่ำเกินไป จะนำไปสู่การเก็งกำไรค่าเงิน เลยไม่ลดดอกเบี้ย ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณที่แย่ลง ฉะนั้น “หากเฟดมีการลดดอกเบี้ย ธปท.มีแนวโน้มที่จะลดดอกเบี้ยตาม” เพราะไม่อยากให้ค่าเงินบาทแข็งค่าไปกว่านี้ บทสรุปทิ้งท้ายที่เราต้องติดตามกัน
แสดงเพิ่ม