PTT_Insight_EP.04_มาตรการ IMO 2020 ช่วยลดมลพิษ ด้วยเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า

PTT_Insight_EP.04_มาตรการ IMO 2020 ช่วยลดมลพิษ ด้วยเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า

รับชม 11 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
​อยากให้ช่วยอธิบายถึงเชื้อเพลิงใหม่ที่ว่าสะอาดกว่า คืออะไร ทุกครั้งที่เชื้อเพลิงนั้นโดนเผาไป ก็จะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซหรือ SO2 ออกมา ตามปริมาณสัดส่วนของ Sulphur ในน้ำมัน เชื้อเพลิงที่สะอาดกว่านั้นจึงหมายถึง เชื่อเพลิงที่มีสัดส่วน % กำมะถันน้อยกว่าครับ ​การเปลี่ยนเชื้อเพลิงใหม่สำหรับการเดินเรือ ดูแล้วไม่น่าจะเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับรถยนต์ท่านมองว่าการเปลี่ยนผ่านมาใช้เชื้อเพลิงใหม่จะใช้เวลานานแค่ไหน? การเปลี่ยนเชื้อเพลิงในเรือนั้นไม่ได้ยากขึ้นครับ ถ้าเราเปลี่ยนเป็นน้ำมันที่สะอาดขึ้น แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นน้ำมันที่แย่ลงนั้นสิ อาจจะมีปัญหากับระบบ ปัญหาที่ยากของการเปลี่ยนเชื้อเพลิงของ IMO ครั้งนี้คือเรื่องของราคา และการผลิตน้ำมันให้ได้คุณภาพหรือ Specification ที่ถูกต้องครับ ทุกวันนี้ ปริมาณเชื้อเพลิงที่เข้าเกณฑ์ใหม่ เพียงพอกับความต้องการหรือไม่ เพราะอะไรและเชื้อเพลิงแบบใหม่ไทยเราผลิตเองได้หรือไม่ไทยเราสามารถผลิตเชื้อเพลิงมาตรฐานใหม่ได้ครบหมดครับ แต่จะด้วยต้นทุนเท่าไหร่นั้นเองที่ยังเป็นคำถามอยู่ เพราะทางโรงกลั่นเองมีทางเลือกอยุ่ 3 ทาง 1) คือจะต้องไปหาซื้อวัตถุดิบหรือน้ำมันดิบที่สะอาดขึ้น ในภาษาของตลาดน้ำมันเราจะเรียกว่าน้ำมันดิบที่ Sweet หรือว่าหวานขึ้นครับ ดดยปกติแล้วก็จะมีราคาที่แพงกว่า 2) คือการผสมน้ำมันสำเร็จรูปอย่างดีเซลซึ่งสะอาดกว่าเข้าไป หรือที่เราเรียกว่า Blending เพื่อลดความเข้นข้นของ suphur ลง แต่การทำแบบนี้ดีเซลก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน และ 3) ทางที่ 3 คือ การติดตั้งหน่วยกลั่นที่ใหม่ที่สามารถลดปริมาณ sulfur ได้มากขึ้น แต่หน่วยการปรับปรุงนี้ก็จะมีราคาสุงมากและใช้เวลานานในการสร้าง ทั้ง 3 ทางนั้นทำให้ต้นทุนสูงขึ้นหมด แต่โรงกลั่นในไทยเราจะเลือกเป็นสองทางแรกคือเปลี่ยนน้ำมันดิบและทำ blending ซะมากกว่าครับ ผู้ประกอบการเดินเรือ มีทางเลือกในการรับมือกับมาตรการ IMO หรือไม่ อย่างไร มีแน่นอนครับ ผู้ประกอบการเดินเรือ จะมีทางเลือกอยุ่สามทางเช่นกัน 1) ก็คือเปลี่ยนการใช้น้ำมันมาเป็นชนิดที่สะอาดขึ้น มีสัดส่วนซัลเฟอร์น้อยลง 2) คือการติดตั้งระบบบำบัดอากาศเสียบนเรือ หรือที่เรียกว่า (Scrubber) ทำให้ยังใช้น้ำมันเตาที่มี Sulphur สูงได้อยู่ แต่ก็จะมีค่าลงทุนติดตั้งที่สูงอยู่ ประมาณ 3 ล้านเหรียญสหรัฐต่อลำ หรือ 70 ล้านบาทต่อลำ เป็นขั้นต่ำเลยทีเดียวนะครับ และ 3) สุดท้ายคือ การเปลี่ยนไปใช้เรือพลังงาน LNG เลย แต่วิธีนี้จะมีต้นทุนที่แพงมากที่สุด แพงมากกว่าการติด scrubber อีก จึงทำให้ไม่ได้เป็นที่นิยมกันครับ มีการคาดการณ์ว่าค่าการกลั่นจะปรับตัวสูงขึ้น เรื่องนี้เชื่อมโยงกันอย่างไร แน่นอนครับ เมื่อน้ำมันที่สะอาดมีความต้องการมากขึ้น โรงกลั่นซื่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันเหล่านี้ออกมา ก็จะขายได้ในราคาที่แพงขึ้นเช่นกัน จังมีแนวโน้มสูงเลยที่ค่าการกลั่นจะถ่างขึ้น แต่อย่างที่เรียนไปว่าดรงกลั่นก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นด้วยจากการเปลี่ยนน้ำมันดิบให้ หวานขึ้น หรือการ blending น้ำมัน จึงขึ้นอยู่กับแต่ละโรงกลั่นเลยว่าใครจะควบคุมต้นทุนได้ดีกว่ากันครับ ​ใครที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงแบบใหม่ โดยตรงผู้ที่ได้รับปรัโยชณ์ที่สุดน่าจะเป็น โลกเราและก็พวกเราทุกๆคนที่อยู่บนโลกนี้นะครับ ที่โลกของเราจะมีมลพิษน้อยลง มีการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น แต่ถ้ามองในมุมผู้ประกอบการแล้ว คงไม่มีใครได้รับประโยชน์มาก โดยเจ้าของเรือก็ต้องจ่ายเพลังงานที่แพงขึ้น ผู้ซื้อของปลายทางก็ต้องรับภาระต่าขนส่งที่แพงขึ้น โรงกลั่นถึงแม้จะได้ค่าการกลั่นเพิ่ม แต่ก็อาจจะมีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ผู้ขุดเจาะและผลิตน้ำมันที่เปรี่ยว หรือว่ามี supfur สูงก็ต้องเร่งหาช่องทางในการขายของให้ได้ คงไม่มีใครได้รับผลประโยชน์ไปมากกว่า โลกของเราที่จะมีมลพิษลดลงแล้วครับ =)
แสดงเพิ่ม