รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 938 ชวนคุย เรื่องภาษี ...กับโลกดิจิทัล ตอนที่ 2 | กรมสรรพากร

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 938 ชวนคุย เรื่องภาษี ...กับโลกดิจิทัล ตอนที่ 2 | กรมสรรพากร

รับชม 5 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ว่าด้วยเรื่องธุรกิจออนไลน์ กับการเสียภาษี สิ่งหนึ่งที่ทำให้กลุ่มแม่ค้าพ่อค้าออนไลน์ฮือฮา คงหนีไม่พ้น “มาตรการเก็บภาษีธุรกิจออนไลน์” แบบจริงจังกว่าทุกครั้ง คุณ ปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร มีเล่าให้ฟังคร่าวๆ ว่า กรมสรรพากรให้ความสำคัญกับแนวทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มาประมาณ 2-3 ปี ด้วย 3 ประเด็น หลักๆ คือ 1.E-Tax Invoice ที่ออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดเอกสารกระดาษ ลดต้นทุน และลดภาวะโลกร้อน 2.สร้างระบบหัก ณ ที่จ่ายผ่านแบงก์ ตัวอย่าง คู่ค้า โอนเงิน 100 บาท แบงก์ทำการหัก ณ ที่จ่ายไว้ 3 บาท ส่วนของ 3 บาทนี้ ส่งกรมสรรพากร อีก 97 บาท ส่งจ่ายให้คู่ค้า ทำให้ ในอนาคตไม่ต้องเสียเวลาออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย รายละเอียดการเสียภาษี สามารถตรวจสอบผ่าน website ของกรมได้ 3. การส่งข้อมูลเฉพาะ โดยทางกรมสรรพากรให้แบงก์ ภายใต้เงื่อนไขว่า ใครก็ตาม ที่มีการรับเงิน เกิน 3,000 ครั้ง ต่อปี (ไม่ดูวงเงิน) แบงก์จะมีหน้าที่รายงานให้กับกรมสรรพากร หรือ อีกเงื่อนไข คือ ที่มีการรับเงิน เกิน 400 ครั้ง ด้วยวงเงิน 2 ล้านบาท แบงก์จะมีหน้าที่รายงานให้สรรพากรเช่นกัน สิ่งที่หลายคนเข้าใจผิด คือ ข้อมูลที่ส่งจากแบงก์มาที่กรมสรรพากรแล้ว ทางสรรพากร จะเอาข้อมูลนี้ไปตรวจสอบ และติดตามภาษี จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ ... ทาง โฆษกกรมสรรพากร ยืนยันว่า ข้อมูลเหล่านี้ เรานำมาเพื่อต่อยอดการให้บริการ ถ้าใครที่มีพฤติกรรมที่หลบเลี่ยง เราอาจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ให้ความรู้ แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาจะให้เสียเบี้ยปรับ โดยทางกรม เชื่อว่า ระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น ประหยัดเวลา และช่วยลดต้นทุน และข้อมูลถูกต้อง เมื่อธุรกิจออนไลน์ มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนเข้าใจผิด ว่า การทำธุรกิจออนไลน์ แล้วไม่ต้องเสียภาษี จริงๆแล้ว การประกอบธุรกิจ ทั้งแบบทั่วไป และออนไลน์ ถ้ามีเงินได้ ต้องมีหน้าที่เสียภาษี "ขายของออนไลน์ = มีรายได้ แปลว่าต้องเสียภาษี" แต่เรื่องความเลื่อมล้ำระหว่าง การทำธุรกิจออนไลน์ค้าขายในประเทศ กับทุนต่างชาติระดับ Global สิ่งที่เกิดขึ้น และเป็นปัญหาทั่วโลก คือ บริษัทต่างชาติเหล่านี้ ไม่ได้มีตัวตนอยู่ในประเทศนั้นๆ ทุกประเทศทั่วโลกเผชิญปัญหาเดียวกันหมด ทำให้ล่าสุด องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ (OECD) ประชุมว่า ในปี 2020 จะมีการออกมาตรการถาวรแก้ปัญหานี้ แต่ในช่วงรอยต่อนี้ แต่ละประเทศจะมีมาตรการ บริหารจัดการอย่างไร ขึ้นอยู่กับประเทศนั้นๆ สำหรับเมืองไทย จะมีการแก้กฎหมาย E-Business ยกตัวอย่าง เราโหลดเพลงจากต่างประเทศมา 100 บาท หลักการของกฎหมายในปัจจุบัน คือ เราต้องเงินเอาเงิน 7 บาท ไปจ่ายที่สรรพากร ซึ่งไม่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ ทำให้ปรับแนวทางใหม่ คือ จ่ายค่าโหลดเพลง 107 บาท ไปที่ปลายทางต่างประเทศ และให้บริษัทต่างประเทศส่งกลับมาที่สรรพากร 7 บาท นี่เป็นบางส่วนจากหลายหลากแนวทาง และรูปแบบใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจออนไลน์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.1161
แสดงเพิ่ม