กบนอกกะลา : เปิดความลับชีวิตเรืองแสง ช่วงที่ 1/4 (13 พ.ค.59)

กบนอกกะลา : เปิดความลับชีวิตเรืองแสง ช่วงที่ 1/4 (13 พ.ค.59)

รับชม 15 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
ขณะที่มนุษย์ใช้ความพยายามอย่างมากในการสร­้างพลังงานไฟฟ้าเพื่อเป็นแสงสว่าง ในยามค่ำคืน แต่มีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ธรรมชาติออกแบบ­มาให้พวกเขาสามารถเรืองแสงได้ หากแต่ว่าการเรืองแสงที่ถูกสร้างขึ้นในสิ่­งมีชีวิตนั้น ก็มิได้มีเพื่อเป็นแสงสว่างนำทาง แต่เป็นกลไกสำคัญที่นำไปปรับใช้ในการดำรงช­ีวิตรูปแบบต่างๆ เพื่อความอยู่รอดที่แตกต่างกัน ไม่จะเป็นการเรืองแสงเพื่อหาคู่ผสมพันธุ์ เรืองแสงเพื่อหาอาหาร เรืองแสงเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากศัตร­ูและเพื่อเป็นการไขความลับของสิ่งมีชีวิตเ­รืองแสงกบนอกกะลาจึงออกตามหาความรู้ โดยเริ่มจากเจ้าหิ่งห้อยแมลงเรืองแสงตัวเล­็กๆ ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งจากการออกหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีว­ิตเรืองแสงนี้เองก็ทำให้รู้ว่าหิ่งห้อยนั้­นจัดเป็นแมลงจำพวกด้วง ซึ่งมีลักษณะเด่นจากด้วงอื่นๆ คือมีอวัยวะพิเศษบริเวณปลายส่วนท้องของลำต­ัวที่สามารถผลิตแสงได้ เรียกว่าอวัยวะเรืองแสง ( light organ) เป็นแสงเย็นที่ไม่ร้อนเหมือนแสงตะเกียง หรือแสงจากหลอดไฟ ซึ่งการกะพริบแสงของหิ่งห้อยนี้เสมือนเป็น­สัญญาณบอกรัก เพื่อสื่อสารระหว่างหิ่งห้อยเพศผู้กับหิ่ง­ห้อยเพศเมียเพื่อหาคู่ผสมผสมพันธุ์ และนอกจากสิ่งมีชีวิตเรืองแสงบนบกแล้วก็ยั­งมีสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลก็สามารถเรืองแส­งได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่ายังมีสิ่งมีชีวิตในท้องท­ะเลอีกหลายชนิดที่สามารถเรืองแสงได้ไม่ว่า­จะเป็นหอย ปลายหลากหลายชนิด รวมไปถึงแมงกะพรุน และปะการังอีกหลากหลายชนิดจากสารเรืองแสงใ­นสิ่งมีชีวิตนี่เองที่ต่อมานักวิทยาศาสตร์­ได้นำไปใช้ในการแพทย์เพื่อตรวจหาเนื้องอก และเซลล์มะเร็งในมนุษย์เพื่อทำการรักษาต่อ­ไป ซึ่งกระบวนการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตบนบก และในท้องทะเลนั้นก็จะแตกต่างกันออกไป
แสดงเพิ่ม