“ฤดูน้ำแดง”งดจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ วันนี้ - 15 ก.ย.59 พร้อมกันทั่วประเทศ

“ฤดูน้ำแดง”งดจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่ วันนี้ - 15 ก.ย.59 พร้อมกันทั่วประเทศ

รับชม 6 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
mynameis_nung
10 วิดีโอ
กรมประมง ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดฤดูปลามีไข่และกำหนดชนิด ขนาด และวิธีใช้เครื่องมือทำการประมง เป็นมาตรการควบคุมการทำการประมงที่ยังมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายในบทเฉพาะกาลมาตรา 171 ประกอบ มาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้กำหนดช่วงเวลาระหว่าง 16 พฤษภาคม – 15 กันยายน ของทุกปี เพื่อสงวนพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่กำลังมีไข่และวางไข่เลี้ยงลูกไว้ไม่ให้ถูกทำลายเกินสมควร โดยในช่วงเวลาดังกล่าวห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงด้วยวิธีใดๆ หรือเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงทำการประมง ในที่จับสัตว์น้ำจืดทุกท้องที่จังหวัดโดยเด็ดขาด ยกเว้นทำการประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของตนเอง แต่สำหรับการทำประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ การรวบรวมลูกสัตว์น้ำหรือสัตว์น้ำวัยอ่อน เพื่อการเพาะเลี้ยงจะต้องได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพพื้นที่และสภาพภูมิอากาศในบางพื้นที่ของประเทศมีความแตกต่างกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ประกาศให้บางจังหวัดมีวันในการคุ้มครองปลาน้ำจืดมีไข่ฯ ที่แตกต่างกันออกไป ยกเว้น 10 จังหวัด ที่มีประกาศปิดฤดูการทำประมงในเขตน้ำจืดเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. จังหวัดพังงา ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2559 2. จังหวัดนครนายก ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2559 3. จังหวัดลำปาง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2559 4. จังหวัดลำพูน ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2559 5. จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน – 30 กันยายน 2559 6. จังหวัดหนองบัวลำภู ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 15 ตุลาคม 2559 7. จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 15 ตุลาคม 2559 8. จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน – 15 ตุลาคม 2559 9. จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 31 ธันวาคม 2559 10. จังหวัดพัทลุง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2559 – 31 มกราคม 2560 โดยห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงด้วยเครื่องมือทำการประมง หรือด้วยวิธีใดๆ ในที่จับสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืด ยกเว้นเครื่องมือที่อนุญาตให้ทำการประมงได้ เป็นเครื่องมือบางชนิดที่ไม่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำอย่างรุนแรงตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ 1. เบ็ดทุกชนิด ยกเว้นเบ็ดราว 2. ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ และขนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้าง ไม่เกิน 2 เมตร โดยห้ามไม่ให้ทำการประมงด้วยวิธีประดาหน้าตั้งแต่สามเครื่องมือขึ้นไป 3. ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน โปง และโทง 4. การทำประมงในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือการทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ หรือรวบรวมลูกสัตว์น้ำหรือสัตว์น้ำวัยอ่อนเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพาะเลี้ยง ซึ่งต้องได้รับหนังสืออนุญาตจาก อธิบดีกรมประมงให้อนุญาตเท่านั้น บทกำหนดโทษ หากผู้ใดฝ่าฝืนตามประกาศ มีผลบังคับใช้ในบทเฉพาะกาลมาตรามาตรา 171 ประกอบมาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ปรับตั้งแต่5,000 -50,000 บาท หรือปรับตามจำนวน5เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง
แสดงเพิ่ม