กบนอกกะลา : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ยกระดับสินค้าชุมชน ช่วงที่ 1/4 (24 พ.ย.59)

กบนอกกะลา : สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ยกระดับสินค้าชุมชน ช่วงที่ 1/4 (24 พ.ย.59)

รับชม 6 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ย. 2016 ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องความหลากหลายของ ทรัพยากรทางธรรมชาติ ภูเขา แม่น้ำ และ ทะเล ล้วนแล้วอุดมไปด้วยวัตถุดิบอันเป็นต้นทุนอันล่ำค่า ส่งผลให้ผู้คนในชุมชน หมู่บ้าน ทุกภูมิภาคหยิบยกนำมาสร้างสรรค์ ด้วยกรรมวิธีและภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อเกิดเป็นของกิน ของใช้ อันเป็นเอกลักษณ์ และ อัตลักษณ์ ตามแบบฉบับของตนเองกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ก่อเกิดเป็น ทุเรียนนนทบุรี มะขามหวานเพชรบูรณ์ ปลาทูแม่กลอง ไข่เค็มไชยา ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ลำใยลำพูน ฯลฯ ชื่อผลิตภัณฑ์ต่อท้ายด้วยแหล่งผลิต กลายเป็นการการันตีถึงความมี คุณภาพและ ความอร่อยที่เชื่อถือได้ แน่นอนว่าเมื่อเกิดความนิยมจึงอาจจะมีผลิตภัณฑ์นอกพื้นที่ลอกเลียนแบบ หรือ กล่าวอ้างแหล่งที่มา ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองให้ผลิตภัณฑ์ในแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว จึงเกิดเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครอง สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ในปีพ.ศ. 2546 ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ลักษณะเป็นรูปทรงพุ่มข้าวบิณ สีเหลือง มีตัวอักษร GI (Geographical Indication) เด่นชัด เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้า ที่มาจากแหล่ง ผลิตที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคุณภาพหรือชื่อเสียง ของสินค้านั้นๆ เป็นผลมาจากการผลิตในพื้นที่ดังกล่าว GI จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ ของท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพ และแหล่งที่มาของสินค้า เป็นตราของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ออกให้แก่ผู้ผลิต หรือ ผู้ประกอบการสินค้าซึ่งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นการคุ้มครองทั้งผลิตไม่ให้ใครละเมิดและผู้บริโภค ให้เกิดความมั่นใจต่อสินค้า แต่ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก แต่ก็ใช่ว่าทุกผลิตภัณฑ์ จะได้รับการคุ้มครองเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ แต่ละผลิตภัณฑ์จะต้องจัดทำคำขอขึ้นทะเบียน จากนั้นก็ต้องทำคู่มือปฏิบัติงาน สร้างระบบควบคุมตรวจสอบสินค้า และ ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งหากชุมชนไหนผลิตภัณฑ์ใดจะขอขึ้นทะเบียนสามารถที่จะขอให้ หน่วยราชการท้องถิ่นหรือทางกรมทรัยพสินทางปัญญาเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่ออำนวยสะดวก ในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียน และการสร้างระบบอีกทั้งเป็นพี่เลี้ยงได้ ประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อขึ้นทะเบียนสินค้าชุมชนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI คือ 1( คุ้มครอง ชื่อสินค้าให้เป็นสิทธิ์เฉพาะของชุมชนที่ขึ้นทะเบียน 2( เพิ่มมูลค่า ของสินค้า และเป็นเครื่องมือการตลาด 3) ดูแลรักษา มาตรฐานของสินค้า และ รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพิ่มความสามัคคี เพื่อพัฒนาท้องถิ่น 5) สนับสนุน การท่องเที่ยวชุมชนผู้ผลิตอย่างยั่งยืน 6) สร้างความเชื่อมั่น ในแหล่งที่มาและคุณภาพของตัวสินค้า ให้กับผู้ซื้อ 7) ก้าวสู่ระดับสากล ได้รับการสนับสนุนการจดทะเบียนในระดับต่างประเทศ กบนอกกะลาสัปดาห์นี้ไม่ว่าคุณจะอยู่แห่งหนตำบลใด จะผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน ใดก็ตาม หรือแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะสร้างธุรกิจเป็นของตนเอง ห้ามพลาดกบนอกกะลา สัปดาห์นี้เป็นอันขาดเราจะพาไปดูตัวอย่างชุมชนที่กำลังที่จะขึ้นทะเบียนสินค้าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิ ศาสตร์ คุณจะได้เรียนรู้ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองแง่คิด และวิธีการสร้างสินค้าให้เกิดความแตกต่าง ให้กลายเป็นของดี ของแท้ ของหายาก แปรเปลี่ยนภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าของแต่ละท้องถิ่นให้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์มากด้วยมูลค่าและคุณภาพ เรียกเงินตราและชื่อเสียงทั้งในตลาดไทย และตลาดโลก ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่ http://tvburabha.com/ https://www.facebook.com/tvburabha https://instagram.com/tvburabha https://www.facebook.com/kobnokkala
แสดงเพิ่ม