กบนอกกะลา : ดอกไม้จันทน์ ช่วงที่ 1/4 (16 มี.ค.60)

กบนอกกะลา : ดอกไม้จันทน์ ช่วงที่ 1/4 (16 มี.ค.60)

รับชม 89 ครั้ง|
1
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
เผยแพร่เมื่อ 19 มี.ค. 2017 ดอกไม้จันทน์ สมัยก่อนในการจัดทำพิธีฌาปนกิจศพ มีธรรมเนียมการใช้ดอกไม้จันทน์ควบคู่กับธูปทองและ เทียนทอง เพราะเชื่อว่า กลิ่นหอมของดอกไม้จันทน์จะนำดวงวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปสู่สรวงสวรรค์ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ดอกไม้จันทน์ในอดีตในจะใช้ไม้จากต้นจันทน์มาทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือทำเป็นท่อนผูกติดกับดอกไม้ธูปเทียน แล้วนำไปวางเคารพศพ ต่อมาไม้จันทน์เริ่มหายากและจำกัดให้ใช้สำหรับในราชพิธีเท่านั้น ดอกไม้จันทน์จึงเปลี่ยนมาสู่กระดาษ สำหรับไม้จันทน์นั้นมีอยู่มากในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กบนอกกะลาจึงออกตามเรื่องราวของไม้จันทน์ ทำให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีต้นจันทน์ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมากที่สุดในประเทศไทย รวมไปถึงการนำไม้จันทน์มาใช้นั้น จะต้องเป็นไม้จันทน์ที่ยืนต้นตายเท่านั้นจึงจะมีกลิ่นหอม ถ้าตัดต้นสดๆมาใช้ก็จะไม่มีกลิ่นหอม ซึ่งไม้จันทน์ที่ยืนต้นตายในเขตอุทยานนั้นก็จะเก็บเอาไว้ใช้เฉพาะงานพระราชพิธีในราชสำนักเท่านั้น จากนั้นก็ออกเดินทางไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับดอกไม้จันทน์กันต่อที่ ชุมชนหัวรถจักร ตึกแดง เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟบางซื่อซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่ทำดอกไม้จันทน์กันมานานกว่า 35 ปี ส่งขายดอกไม้จันทน์ประดิษฐ์ และอุปกรณ์สำหรับทำดอกไม้จันทน์ทุกชนิด นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นรูปแบบของดอกไม้จันทน์หลากหลายมีมากมายให้เลือกหลายแบบหลายราคา นอกจากดอกไม้จันทน์ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ดอกไม้จันทน์ที่ใช้ในราชสำนักก็มีอยู่ด้วยกัน 3 ขนาด นั่นก็คือขนาดช่อ 12 ดอก ช่อ 9 ดอก ซึ่งดอกไม้จันทน์ขนาดช่อ 12 ดอกนั้น จะมีไว้สำหรับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพแด่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือบุคคลทั่วไป ส่วนดอกไม้จันทน์ขนาดช่อ 9 ดอกจะมีไว้สำหรับให้ผู้แทนพระองค์ นำไปวางหน้าโลงศพของผู้วายชนม์ที่ได้รับพระราชทานเพลิงศพทางจาก พระองค์ท่านก่อนการฌาปนกิจศพ
แสดงเพิ่ม