GPSC ยืนยันซื้อ GLOW ด้วยเหตุผลธุรกิจ โปร่งใส ไม่ขัดกฎหมาย

GPSC ยืนยันซื้อ GLOW ด้วยเหตุผลธุรกิจ โปร่งใส ไม่ขัดกฎหมาย

รับชม 0 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ถ้าพูดกันถึงเรื่องของการลงทุน พูดถึงข่าวด้านธุรกิจพลังงานไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมา ก็มีดีลใหญ่เกิดขึ้นก็คือการที่บริษัท GPSC เข้าไปซื้อกิจการของ GLOW หลังจากนั้นก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเรื่องที่ดีที่ภาคประชาสังคมให้ความสนใจกับดีลนี้ เพราะว่า GPSC ก็เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย GLOW เองก็เป็นบริษัทจดทะเบียน และเป็นประเด็นที่นักลงทุนได้ให้ความสนใจ คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC ได้ชี้แจงไว้หลายประเด็น ทำไม GPSC ถึงสนใจเข้าซื้อธุรกิจของ GLOW ดีลการซื้อ GLOW ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นดีลเชิงพาณิชย์ คือ “คนซื้ออยากซื้อ คนขายอยากขาย” การที่ GPSC เข้าซื้อ GLOW เพราะต้องการสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และมาบตาพุดก็เป็นพื้นที่หลักในเชิงเศรษฐกิจของกลุ่มปตท. และของประเทศไทย GPSC เป็นส่วนหนึ่งของการบริการด้านสาธารณูปโภคในประเทศ ถ้ามีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจะให้บริการได้สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ยังเตรียมการรองรับการใช้พลังงานใน EEC หรือพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งบทบาทของ GPSC คือสนับสนุนเรื่องของสาธารณูปโภค เช่น สนามบินใหม่ อุตสาหกรรมใหม่ จึงต้องสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ส่วนที่ทำไมคนขายถึงอยากจะขาย ก็เพราะบริษัท GLOW เป็นผู้ผลิตไฟให้กับกลุ่มปตท. เป็นเวลานานกว่า 30 ปี เมื่อก่อนที่นิคมมาบตาพุด ปตท.ยังไม่ได้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ก็ซื้อไฟฟ้าจาก GLOW การเข้าซื้อธุรกิจครั้งนี้ ราคาซื้อขายถูกประเมินออกมาอย่างเหมาะสมโดยนักวิเคราะห์มืออาชีพ และในการประชุมวิสามัญที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.98 อนุมัติเข้าซื้อกิจการ GLOW ได้ การซื้อขายครั้งนี้ขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 75 (2)หรือไม่ GPSC เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ปตท.ถือหุ้นเพียง 22.58 % เงื่อนไขทั้งหมดขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. และเป็นการซื้อขายเชิงพาณิชย์ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ถึงแม้ปตท.จะมีหุ้นอยู่ใน GPSC ก็จริง แต่ก็ทำหน้าที่ผ่านผู้ถือหุ้น ผ่านกรรมการ มีประชาชนเป็นผู้ถือหุ้นนับหมื่นราย จึงไม่ใช่การที่รัฐวิสาหกิจไปทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน GPSC ผูกขาดธุรกิจไฟฟ้าหรือไม่ ? GPSC เป็นบริษัทไฟฟ้าขนาดเล็ก มีกำลังการผลิตไม่ถึง 2,000 เมกะวัตต์ เมื่อรวมกับ GLOW แล้ว กำลังการผลิตก็เป็นเพียง 6.9% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งประเทศเท่านั้น กลับกันเรามองว่าความเสี่ยงคือลูกค้ามีทางเลือกที่จะไม่ซื้อไฟฟ้ามากกว่าด้วยซ้ำ เพราะเขามีทางเลือก ซึ่งเราก็ต้องทำให้มีประสิทธิภาพ ทำตามสัญญาอย่างถูกต้อง เพื่อให้เขาเลือกเรา ในนิคมมาบตาพุดเองมีโรงงานผลิตไฟฟ้าอยู่หลายโรง เช่น BLCP , บางกอกโคเจนเนอเรชั่น หรือแม้กระทั่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ก็ขายไฟฟ้าได้ ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดการผูกขาด ทุกอย่างต้องเป็นไปตามสัญญาที่เกิดขึ้นก่อนการควบรวมหรือการจัดซื้อนี่ต้องเป็นไปตามเช่นเดิม ธุรกิจโรงไฟฟ้าในปัจจุบันป้องกันการผูกขาดโดยธรรมชาติอยู่แล้วหรือไม่ โดยธุรกรรมแล้วเป็นการทำลักษณะที่จะต้องตกลงกันในระยะยาว ต้องมีผู้กำกับดูแล มีกระบวนการตกลงกันอย่างชัดเจน เช่น ต้นทุนราคาแก๊สเท่าไหร่ จะมีสัญญาผูกมัดชัดเจน การซื้อขายไฟจะมีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการพลังงานเป็นผู้ดูแล หากละเมิดกฎจะถูกถอนใบประกอบการทันที กระบวนการการซื้อ GLOW หลังจากนี้ ต้องรอคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ กกพ. ว่าจะอนุมัติหรือไม่ และอนุมัติด้วยเงื่อนไขอย่างไร แต่ระหว่างรอการพิจารณานั้น ทาง GPSC ก็มีกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า โดยมีการพูดคุยถึงกับลูกค้าที่มีข้อสงสัย และสามารถยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรได้ตามบริบทของสัญญาที่มี
แสดงเพิ่ม