บทบาท กกพ. ในการกำกับดูแลการแข่งขันกิจการไฟฟ้า | ปตท.

บทบาท กกพ. ในการกำกับดูแลการแข่งขันกิจการไฟฟ้า | ปตท.

รับชม 5 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
บทบาท กกพ. ในการกำกับดูแลการแข่งขันกิจการไฟฟ้า ไฟฟ้าจะมาถึงบ้านเราได้ต้องมีผู้ผลิต ต้องมีการส่ง ต้องมีการจำหน่าย มีการค้าปลีก ในทางกฎหมายผู้มีสิทธิ์ผลิตในประเทศไทย คือ กฟผ. กฟน. กฟพ. องค์กรเหล่านี้เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายจัดตั้ง มีอำนาจหน้าที่ในการผลิต ส่งจำหน่าย แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเอกชนเข้ามามีส่วนในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น อาทิ IPP SPP VSPP ซึ่งใช้ความรู้และเทคโนโลยีมาช่วยผลิตไฟฟ้าได้มาก แน่นอนว่าเมื่อเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ก็ต้องมีหน่วยงานกำกับดูแล นั่นก็คือคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ. พระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงานปี 2550 เปิดโอกาสให้เอกชนหรือผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือกกพ.กำหนด ขอใบอนุญาตและประกอบกิจการต่างๆได้ คือสามารถผลิต ส่ง จำหน่าย ค้าปลีก ควบคุมระบบไฟฟ้าได้ หากผู้ประกอบการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กกพ.กำหนด ด้านครม.มีมติกำหนดโครงสร้างกิจการไฟฟ้าในเมืองไทยเป็นกิจการที่เรียกว่าระบบผู้ซื้อรายเดียวในตลาดค้าส่งพลังงาน นั่นก็คือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือกฟผ. ซึ่งกกพ.เป็นตัวกลางให้ผู้ประกอบการเอกชนเข้ามาผลิตและขายให้กับกฟผ. กกพ. มีบทบาทอย่างไรในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ? บทบาทของกกพ. นอกเหนือจากให้ใบอนุญาตแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า เช่น กำหนดเงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อม หรือหากมีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถถอนใบอนุญาตได้ ตามมาตรา 60 แห่งพรบ.กิจการพลังงานฯ และข้อ8 วรรคสองของระเบียบ กกพ. เพื่อกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการประกอบการกิจการพลังงาน “เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขันให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ” ได้ และมาตรา 61 กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 60 ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) มีคำสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตหยุดหรือปรับปรุงการกระทำอันเป็นการผูกขาดลดการแข่งขันหรือจำกัดการแข่งขัน (2) เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขใบอนุญาต ปัญหา อุปสรรค และโอกาสในการแข่งขันกิจการไฟฟ้า หากยังเป็นระบบผู้ซื้อรายเดียว คือ ขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การแข่งขันในตลาดค้าส่งก็เกิดขึ้นยาก เพราะในตอนผลิตแข่งขันกันก็จริงแต่ปลายทางต้องส่งให้กฟผ.ที่เดียวแต่ถ้าหากมาดูในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม ในนิคมก็จะมีผู้ผลิตที่สามารถขายไฟให้กับผู้ใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านตลาดกลาง ถึงแม้จะมีผู้ผลิตรายเดียวแต่ไม่ต้องผูกขาด โอกาสในอนาคตอาจมีการปฏิรูปโครงสร้างของกิจการพลังงาน คือ เพิ่มบทบาทการแข่งขันให้บริษัทเอกชนมากขึ้นและจัดตั้งตลาดกลางในการซื้อขายไฟฟ้า โดยไม่ต้องขายผ่านแค่กฟผ.เพียงรายเดียว
แสดงเพิ่ม