รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 722 สำลักน้ำมัน | TMBAM

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 722 สำลักน้ำมัน | TMBAM

รับชม 2 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ราคาน้ำมันดิบ WTI พุ่งแตะ $70/บาร์เรล ครั้งแรกตั้งแต่ พ.ย. 2014 อินเดีย เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของเอเชีย นำเข้าน้ำมันดิบ 2 ใน 3 ของความต้องการ จึงอยู่ในจุดสนใจ ห่วงใย มาได้สักพักแล้ว หลังจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำมันแพง หากแพงต่อเนื่อง ก็จะกดดันเศรษฐกิจอินเดียในหลายๆด้าน - ดุลบัญชีเดินสะพัด อาจจะขาดดุลมากขึ้น ผลจากการขาดดุลการค้า นำเข้า ส่งออก นักวิเคราะห์บางรายประมาณการว่า ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกๆ $10/บาร์เรล จะส่งผลให้อินเดียขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมากขึ้น 0.4% ของ GDP ผลที่ตามมาคือ อินเดีย จะต้องพึ่งพาเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น จึงอ่อนไหวมากเมื่อต้องเผชิญภาวะเงินทุนไหลออก - ดุลงบประมาณ อาจจะขาดดุลมากขึ้น เพราะรัฐบาลอาจลดภาษี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปปีหน้า ...ฐานะการคลังแย่ลง อาจทำให้ อินเดีย เสี่ยงต่อการถูกปรับลดอันดับเครดิต - เงินรูปีอ่อนค่า เป็นผลจาก “twin deficits” คือ ขาดดุลทั้งบัญชีเดินสะพัด และดุลงบประมาณ ...เงินอ่อนค่า ก็ยิ่งทำให้ต้องนำเข้าสินค้า รวมถึงน้ำมัน แพงขึ้น และวนกลับไปซ้ำเติมภาวะขาดดุลอีก - เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น แต่เศรษฐกิจอาจโตช้าลง ธนาคารกลางอินเดีย RBI คาดการณ์ว่า หากราคาน้ำมันดิบขึ้นไปถึง $78/บาร์เรล GDP อาจโตช้าลง -0.1% จากคาดการณ์ 7.4% ขณะเงินเฟ้ออาจเร่งขึ้น +0.3% บีบให้ RBI ต้องจำใจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ ความกังวล ของนักลงทุนในตลาด สะท้อนออกมาทั้ง เงินรูปี INR อ่อนค่าสุดในเอเชีย -5.2% นับตั้งแต่ต้นปี ส่งผลให้ หุ้นอินเดีย ถึงแม้ผลตอบแทนในสกุลท้องถิ่นเป็นบวก แต่แปลงเป็นดอลลาร์แล้วก็ติดลบ โดยในปีนี้ หุ้นอินเดีย ในสกุล USD มัก underperform เทียบกับหุ้นทั่วโลก ในช่วงเวลาที่ราคาน้ำมันทะยานขึ้น ขณะ ยีลด์พันธบัตรอินเดีย อายุ 10 ปี +27 bps ราคาพันธบัตรปรับตัวลง จน RBI ต้องออกมาตรการหลายอย่าง เพื่อช่วยพยุงตลาดบอนด์ แล้วน้ำมันจะแพงขึ้นอีกไหม? สมมุติฐานที่เราใช้มานานแล้วคือ “floor” ของราคาน้ำมันคือ ข้อตกลงลดผลิตของ OPEC และพันธมิตร ส่วน “ceiling” คือ ผู้ผลิต shale oil ในสหรัฐฯ ตอบสนองราคาที่สูงขึ้นด้วยการผลิตมากขึ้น เป็นการเพิ่มอุปทาน ซึ่งจะดึงราคากลับลงมา ...เศรษฐกิจโลกขาขึ้น ความต้องการใช้น้ำมันแข็งแกร่ง ทำให้ราคาถูก “ปั่นขึ้น” ด้วยปัจจัย sentiment ระยะสั้นได้ง่าย อาทิ ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ซีเรีย หรือล่าสุด สหรัฐฯจะถอน/ไม่ถอนตัวจาก ข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน... ดังนั้น หาก sentiment ระยะสั้นเริ่มจาง ราคาน้ำมันดิบ ก็น่าจะกลับลงมาเคลื่อนไหวในกรอบ ซึ่งถูกกำหนดคร่าวๆด้วย ceiling-floor ข้างต้น ปัจจัยบวก ≠ โอกาส ปัจจัยลบ ≠ ความเสี่ยง แต่น่าจะกลับกันด้วยซ้ำ คือ “ปัจจัยบวก” ที่รู้กันทั่วแล้ว ซึมซับอยู่ในราคา อาจเป็น “ความเสี่ยง” หากไม่ดีอย่างที่คิด ขณะ “ปัจจัยลบ” ซึ่งรับรู้ในราคาแล้ว อาจเป็น “โอกาส” หากเรื่องจริง ไม่ได้แย่มากเท่าที่เคยกลัวกัน ตัวอย่างกองทุน ที่ลงทุนบางส่วนในอินเดีย % ของพอร์ตกองทุนหลัก TMB Emerging Active Equity 8.36% มี.ค. TMB Asian Growth Leaders 15.78% เม.ย. TMB Asian Bond 7.89% เม.ย. “Overweight” 1. Global Income “คำตอบในหลายสภาวะตลาด” 2. Global Bond “ยีลด์สหรัฐฯคงขึ้นต่อได้ไม่มากแล้ว” 3. Asian Bond “ความเสี่ยงขาลงค่อนข้างจำกัด” 4. Emerging Active Equity “ดอลลาร์รีบาวด์คงแค่ระยะสั้น น่าจะเป็นโอกาสซื้อ” 5. JUMBO 25 “SET Index 2,000 อาจแค่ทางผ่าน” 6. Gold Singapore “พร้อมรับเหตุไม่คาดฝัน” 7. Global Property “พอร์ตลงทุนอสังหาฯระดับโลก” “Underweight” 1. World Equity Index “ไม่ชอบ เพราะไม่ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน” 2. Japan Equity, Japan Active Equity “Policy Dilemma” 3. European Growth, German Equity “ECB อาจสะสม ‘กระสุน’ ไม่ทัน”
แสดงเพิ่ม