รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 739 สถานการณ์พลังงาน | PTT

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 739 สถานการณ์พลังงาน | PTT

รับชม 5 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ติดตามมุมมองราคาน้ำมัน ณ ปัจจุบันและแนวโน้ม โดย ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อยากให้ย้อนดูการเคลื่อนไหวตั้งแต่อดีตที่ค่อนข้างผันผวน ราคาเคยขึ้นไปสูงถึง 120 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล ราคาปรับขึ้นสูงตามความต้องการน้ำมันโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นโดยการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดานยังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายจนปัจจุบัน ช่วงนั้นราคาก็อยู่บริเวณร้อยเหรียญ หลังจากที่มี Shale Oil และ Shale Gas มากขึ้น อุปทานในตลาดก็มากขึ้นกอปรกับโอเปกก็เปลี่ยนนโยบายว่าจะรักษาระดับสัดส่วนการผลิต คือไม่ยอมให้เสียส่วนแบ่งการผลิตอีกต่อไป ทำให้ราคาดิ่งลงมาที่ 40-50 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล และลงไปสู่จุดต่ำสุดที่ 30 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล จนเราอาจเคยชินกับราคาน้ำมันที่อยู่ระดับนี้มา 4 ปี ตอนนี้ราคาน้ำมันเริ่มปรับสู่จุดสมดุล ที่ช่วงหลังขึ้นมาที่บริเวณ 70-80 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรลก็เกิดจากหลายปัจจัย ทั้ง shale oil/ shale gas ก็ผลิตมากขึ้นมากก็ทำให้ราคาไม่สามารถปรับขึ้นได้มาก แต่ก็ยังมีเหตุผลด้านการเมืองและปัญหาการผลิตน้ำมันของบางประเทศอย่างเวเนซูเอล่า ความร่วมมือระหว่างซาอุดิอาระเบีย โอเปก รัสเซียในการรักษาระดับการผลิตจึงทำให้ราคาปรับพิ่มขึ้นมา ซึ่งระดับ 70-80 เหรียญ ก็ยากแก่การคาดเดาว่าราคาระดับนี้จะยั่งยืนหรือไม่ เพราะการผลิต shale oil/ shale gas ก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกปัจจัยคือ พลังงานหมุนเวียน ที่เคยประสบปัญหาจากราคาน้ำมันตกต่ำ ตอนนี้ต้นทุนการผลิตลดลงมาก ประสิทธิภาพของพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้นมาก ปัจจัยนี้คือตัวถ่วงที่จะไม่ให้ราคาน้ำมันอยู่ในระดับที่สูงเกินไป ยกตัวอย่าง โซล่าร์ฟาร์ม ราคาลดลงมามาก กอปรการประมูลในอินเดียและตะวันออกกลางทำให้ราคาลงมาอยู่ที่ 1-3 บาท/ กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วนเวียดนามเพิ่งประมูลไปโดยมีผู้ลงทุนไทยชนะการประมูลโซลาร์ฟาร์ม ราคาอยู่ที่ 3.30 บาท/ กิโลวัตต์ชั่วโมง เหล่านี้สะท้อนว่าราคาพลังงานหมุนเวียนลดลงมาก ปัจจัยนี้จะเป็นตัวตรึงราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไป ก๊าซธรรมชาติเหลว อย่าง LNG ที่มีเหลือเฟือก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไป ฉะนั้นเราน่าจะเห็นราคาน้ำมันลงมาอยู่ในระดับที่สมดุลที่ 60-70 เหรียญสหรัฐ/ บาร์เรล ปัจจุบันสหรัฐคือผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกจากการขุดและผลิต shale oil/ shale gas แต่ยังเป็นผู้นำเข้าสุทธิเล็กน้อยเพราะมีทั้งส่งออกและนำเข้า มองว่าในไม่ช้าสหรัฐจะกลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันสุทธิรายใหญ่รองจากซาอุดิอาระเบีย การที่สหรัฐมีกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากนั้นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญที่ทำให้ตลาดน้ำมันมีอุปทานหรือ supply เหลือเฟือและราคาไม่สามารถพุ่งสูงไปได้ไกลนัก ผู้ประกอบการไทยที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นวัตถุดิบอย่างบริษัทขนส่ง โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ใช้รถยนต์ไม่ได้ซื้อน้ำมันหรือเชื้อเพลิงที่ราคาตลาดแต่เป็นราคาที่รวมภาษีและนโยบายรัฐเข้าไป โครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย มีการบวกทั้งภาษีสรรพสามิต 5.85 บาท/ ลิตร ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่ม กองทุนน้ำมัน ค่าการตลาด ยกตัวอย่าง ราคาน้ำมันเบนซิน 95 E10 ประกอบด้วยต้นทุนเนื้อน้ำมันและค่าการตลาดที่ 20 บาท แต่มีบวกค่าภาษีต่างๆ และเข้ากองทุนน้ำมันอีกทั้งสิ้น 8.90 บาท ฉะนั้นราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผู้ใช้บริโภคในประเทศขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลด้วย ปัจจุบันรัฐบาลช่วยรักษาราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ ลิตรโดยใช้งบประมาณจากกองทุนน้ำมันสนับสนุน ทำได้เพราะตอนนี้เงินกองทุนน้ำมันยังมีอยู่ราว 31,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลคอยดูแลภาคส่วนผู้บริโภคอยู่ต่อเนื่อง ผู้บริโภคสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยสังเกตราคาขายจากหน้าปั๊มแล้วเลือกเติมจากราคาที่ถูกที่สุดนั่นเอง ปกติถ้าราคาขึ้น ปตท. จะเป็นปั๊มสุดท้ายที่ปรับราคาขึ้น ถ้าราคาน้ำมันลง ปตท. จะเป็นปั๊มแรกที่ปรับราคาลง โดยประชาชนก็สามารถเลือกเติม เลือกจังหวะเพื่อประหยัดเงินได้อีกทางหนึ่งด้วย
แสดงเพิ่ม