รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 782 ถอดบทเรียน วิกฤติเวเนซุเอลา อาร์เจนตินา | CPAM

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 782 ถอดบทเรียน วิกฤติเวเนซุเอลา อาร์เจนตินา | CPAM

รับชม 18 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ถอดบทเรียนวิกฤติเวเนซุเอล่า- อาร์เจนติน่า ฤ จะเกิดวิกฤติการเงินระลอกใหม่ แล้วเราเรียนรู้อะไรได้บ้าง หากพูดถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น วิกฤติต้มยำกุ้ง หรือ Subprime Crisis สังเกตเกิดขึ้นทุกๆ 10 ปี นับจาก Subprime ปี 2008 จนถึงวันนี้ก็วนมา 10 ปีพอดี ท่ามกลางตลาดที่ผันผวน โดยเฉพาะประเทศเกิดขึ้น Emerging Markets อย่างในเวเนซุเอลาหรืออาร์เจนตินา ร่วมถอดบทเรียนความเหมือน ต่าง และโอกาสในการลงทุน คุณวิน พรหมแพทย์, CFA, ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด มองวิกฤติที่เกิดขึ้นในบางประเทศของตลาดเกิดใมห่รอบนี้มีความเหมือนและความต่างกับรอบวิกฤติต้มยำกุ้ง จุดเหมือนคือ ต้นเหตุที่เกิดจาก Twin Deficit คือรัฐบาลขาดดุลสองอย่างพร้อมกัน ทั้งขาดดุลการค้าและขาดดุลงบประมาณ มีการพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศมากเกินไป แต่จุดที่ต่างไปคือวิกฤติต้มยำกุ้งเป็นวิกฤติที่กระจายทั้งภูมิภาค ขณะที่วิกฤติรอบนี้ไม่กระจายแต่จำกัดวงเฉพาะในประเทศตนเอง ยกตัวอย่าง วิกฤติตุรกี เกิดจากสหรัฐประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ วิกฤติในเวเนซุเอลาและอาร์เจนตินาเกิดในประเทศตัวเอง ไม่แพร่กระจายไปประเทศอื่นๆ ส่วนอินโดนีเซียไม่มีผลกระทบวงกว้าง น่าประหลาดใจที่ประเทศไทยเรานั้นกลับกลายเป็น Safe Heaven คือเป็นที่พักเงินของนักลงทุนเมื่อตลาดผันผวนมาก มีเม็ดเงินไหลเข้ามาซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยเยอะมาก แปลว่าวิกฤติครั้งนี้ นักลงทุนมิได้มองว่า Emerging Market แย่ทั้งหมด ไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่อยู่ใน Emerging Market แต่พื้นฐานเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง มาถอดบทเรียนความล้มเหลวในเวเนซุเอลากับอาร์เจนตินากันบ้าง ดูเผินๆ วิกฤติทั้งสองประเทศคล้ายคลึงกันแต่เจาะลึกนั้นเห็นความต่าง อย่างเวเนซุเอลาเกิดจากปัญหาที่สะสมมานานนับ 20 ปี แรกๆ ประเทศนี้ยากจน ประธานาธิบดี Hugo Chavez (1998-2013) ซึ่งเป็นทหาร เข้ารับตำแหน่ง เน้นดำเนินนโยบายช่วยคนจน อาทิตั้งคลีนิกรักษาฟรี เรียนฟรี จ่ายเงินชดเชยค่าอาหาร ค่าสินค้า ผลทำให้คนจนน้อยลงจริงๆ ตลอดการนำประเทศโดยเขา รายได้หลักของประเทศนี้คือน้ำมัน ตอนราคาดีๆ เหนือ 100 เหรียญ/ บาเรล ก็อยู่กันดี แต่เมื่อราคาลดลงต่อเนื่อง รัฐบาลก็เริ่มเป็นหนี้ หมุนเงินไม่ทัน จากนั้น ประธานาธิบดีคนต่อมา Nicholas Maduro (2013- ปัจจุบัน) เข้ามาแทนที่จะแก้ปัญหา ก็ดำเนินนโยบายเหมือนเดิม ประเทศก็เข้าขั้นวิกฤติ สรุปปัญหา 3 เรื่องคือ 1. อาหารขาดแคลน สินค้าอุปโภคบริโภคขาดตลาด ประชาชนต้องต่อคิวซื้ออาหารเป็นวัน 2. อัตราเงินเฟ้อสูงเป็นแสนเป็นล้านเปอร์เซนต์ 3. คนเวเนซุเอลาหนีออกนอกประเทศนับตั้งแต่ปี 2015 คาดว่ามี 1.6 ล้านคนหนีออกนอกประเทศ ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สั่งสมมา 20 ปีที่แก้ยาก ท่ามกลางราคาน้ำมันลดลง อาชญากรรม ทางรอดคือต้องยกเครื่องผู้นำประเทศยกชุด ทั้งประธานาธิบดี รมต. คลัง ผู้ว่าแบงค์ชาติ ส่วนปัญหาที่เกิดในอาร์เจนตินา ตั้งต้นคล้ายกันคือมีการอุดหนุนราคาสินค้าตลอดปี 2007-2015 เงินเฟ้อสูง จนกระทั่งสามปี 2015 ที่ Mauricio Macri เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี เขาดำเนินนโยบายบริหารประเทศที่ต่างออกไปโดยเริ่มจากปฏิรูปเศรษฐกิจ เปลี่ยนตัวผู้ว่าแบงค์ชาติ ลดการอุดหนุนราคาสินค้า ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามกลไกตลาด เรียกว่ามาถูกทาง ยอมเจ็บตัวให้คนซื้อสินค้าราคาแพงขึ้นเพราะรัฐบาลเลิกอุดหนุนแล้ว แต่ก็ทำเพื่อให้รัฐบาลมีการขาดดุลงบประมาณที่ลดลง ผลลัพธ์ที่ยังต้องบจับตาคือเงินเฟ้อ ยังคงสูงถึง 25% เพราะสินค้ายังมีราคาแพง ค่าเงินก็เลยอ่อน เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐบาลจึงประกาศมาตรการเซรษฐกิจคือ การปรับลดรายจ่ายภาครัฐ ยุบหน่วยงานที่ไม่จำเป็น ตั้งเป้าให้งบประมาณกลับมาสมดุลภายในปีหน้า ขณะเดียวกันขอกู้เงินฉุกเฉินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จำนวน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อชำระหนี้ที่จะครบกำหนดปีนี้ ปีหน้า เรียกว่ายืดเวลาหนี้ เรียกว่า มาถูกทาง สำหรับการดำเนินนโยบายและบริหารประเทศของอาร์เจนติน่าที่ทาง บลจ. บลจ. ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล มองว่าน่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ภายใน 3-6 เดือนข้างหน้านี้
แสดงเพิ่ม