รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 774 "วุ่นนักมักกะโรนี" | TMBAM

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 774 "วุ่นนักมักกะโรนี" | TMBAM

รับชม 1 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
"วุ่นนักมักกะโรนี" อิตาลี แดนมักกะโรนี ภายใต้การนำของรัฐบาลประชานิยมพันธุ์ผสม 5-Star Movement (M5S) กับ League ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นว่า เตรียมงัดข้อกับสหภาพยุโรป (EU) ใน 2 ประเด็นหลักคือ 1. ผู้อพยพ 2. งบประมาณ Luigi Di Maio รองนายกฯและหัวหน้า M5S ประกาศกร้าว จะเริ่มกระบวนการคัดค้านข้อตกลงงบประมาณอียู เพื่อตอบโต้การที่ชาติสมาชิก ไม่ยอมแบ่งเบาภาระในการรับผู้อพยพ ให้มากเท่าที่อิตาลีต้องการ สอดคล้องกับถ้อยแถลงของนายกฯ Giuseppe Conte ซึ่งระบุว่า ไม่สามารถจัดทำงบประมาณตามเกณฑ์ของอียู (EU budget rule) เพราะไม่สอดคล้องกับจุดยืนด้านสังคมของอิตาลี ขณะที่ Matteo Salvini รองนายกฯและหัวหน้า League กล่าวว่า ควรหยุดจ่ายเงินให้องค์กรที่ไร้ประโยชน์อย่างอียู สถาบันจัดอันดับฯ Fitch (31 ส.ค.) คงเครดิตอิตาลี BBB แต่หั่นมุมมองเป็น “เชิงลบ” (จากเดิม “คงที่) เราเชื่อว่าการเมืองยุโรปมีโอกาสที่จะทวีความร้อนแรงในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า โดยประเด็นผู้อพยพที่ขึ้นฝั่งซิซิลี รวมถึงโศกนาฏกรรมสะพานถล่มในเจนัว น่าจะโหมกระพือกระแสประชานิยม หนุนหลังรัฐบาลอิตาลี “งัดข้อ” อย่างเต็มตัวกับอียู โดยอาจขวางลำไม่อนุมัติกรอบงบฯอียูปี 2021-2027 นอกเหนือจาก การจัดงบประมาณประเทศขาดดุลมากขึ้น เพื่อสนองการลงทุนสนับสนุนเศรษฐกิจ ปฏิทินการเมืองอิตาลี (ที่เกี่ยวกับงบประมาณ) 27 ก.ย. พรรคร่วมรัฐบาลอิตาลีกำหนดเป้า เศรษฐกิจ และ งบประมาณ 15 ต.ค. รัฐบาลอิตาลี ต้องเสนอแผนงบฯต่อ คณะกรรมาธิการยุโรป 20 ต.ค. สภาอิตาลี พิจารณาร่างงบประมาณ สมมุติฐานหลักๆ 1. อิตาลี เอาจริง - ECB ไม่ง่าย การงัดข้อระหว่าง รัฐบาลประชานิยมอิตาลี - สหภาพยุโรป เป็นเรื่องจริงจัง เพราะเป็นปัญหาเรื้อรังสะสมมานาน โดยมีรากฐานจากความไม่สมดุลระหว่าง นโยบายการเงิน (ยูโรโซนใช้สกุลเงินยูโรร่วมกัน) กับ นโยบายการคลัง (ต่างคนต่างทำ) ขณะที่ ECB เคยส่งสัญญาณชัดเจนแล้วว่า “ไม่ช่วยอิตาลีง่ายๆ” เห็นได้จากเมื่อเดือน มิ.ย. ECB เดินหน้าประกาศยุติ QE ภายในปีนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน อิตาลีเพิ่งตั้งรัฐบาลพร้อมส่งสัญญาณว่า จะใช้จ่ายเพิ่ม/กู้เงินเพิ่ม (ผลที่ตามมาคือ อิตาลีจะต้องออกพันธบัตรเพิ่ม แต่ ECB กลับส่งสัญญาณว่าจะเลิกซื้อพันธบัตร) ดังนั้น ยีลด์พันธบัตรอิตาลี 10 ปี ปัจจุบันประมาณ 3% ต้นๆ อาจจะไม่ใช่จุดสูงสุดของรอบนี้ก็เป็นได้ โดยยีลด์ฯอาจถูก “ปล่อย” ให้ปรับตัวขึ้นต่อได้อีกมาก ก่อนที่ ECB จะเข้ามาช่วย 2. ยังอยู่ แต่ถ้ากดดันมากอาจมี ท้าเลิก แม้รัฐบาลอิตาลีย้ำว่า “ไม่คิด” ที่จะออกจากยูโรโซน (ไม่เลิกใช้เงินยูโร) แต่แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นๆ อาจสร้างบรรยากาศที่ตึงเครียดเพียงพอที่จะทำให้เกิดการ “ท้าเลิก” ได้ไม่ยากนัก ...ผลที่ตามมาอาจทำให้ตลาด “ตระหนก” เทขายสินทรัพย์เสี่ยงแล้วเข้าซื้อ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ซึ่งในภาวะดังกล่าว “พันธบัตรสหรัฐฯ” อาจเป็นตัวเลือกแรกๆในการเข้าซื้อ เพราะยีลด์สูงกว่าสินทรัพย์ปลอดภัยในยูโรโซนเองอย่าง พันธบัตรเยอรมนี อยู่มาก (ยีลด์ 10 ปี: สหรัฐฯ 2.9%, เยอรมนี 0.4%) โดยสถานะ “ขายชอร์ตฟิวเจอร์สพันธบัตรสหรัฐฯ” ของนักเก็งกำไรในตลาด ปัจจุบันใกล้ระดับที่หนาแน่นสุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น หากนักลงทุนกลัวความเสี่ยงแล้วแห่เข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ ก็น่าจะกระตุ้น “แรงซื้อเพื่อปิดสถานะ” แล้วส่งผลต่อเนื่องทำให้ ยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลงแรงๆได้ในระยะสั้น 3. เงินเยน อาจเป็น เหยื่อ (แข็งค่า) ในกรณีที่นักลงทุนตื่นตระหนก แล้วยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลงมาแรงๆ “ส่วนต่าง” (spread) เหนือยีลด์พันธบัตรญี่ปุ่น ก็จะแคบลง กดดอลลาร์อ่อนค่าเทียบเยน (เงินเยนแข็งค่า) อย่างมีนัยสำคัญ กองทุนที่น่าจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากประเด็นอิตาลี น่าจะเป็นกองทุนที่เน้นสินทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์หากยีลด์พันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวลง และอาจได้ประโยชน์จากภาวะกลัวเสี่ยง (risk off) หรือถูกกระทบในแง่ลบไม่มากเท่าไรนัก TMB Gold Singapore TMB Global Bond TMB Global Income TMB Property Income Plus
แสดงเพิ่ม