รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 701 เลือกหุ้นทำกำไร หลังดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ | AIRA

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 701 เลือกหุ้นทำกำไร หลังดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ | AIRA

รับชม 36 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
หุ้นไทยมีโอกาสลงไปเคลื่อนไหวทดสอบ 1760 จุด อาจผันผวนได้ในระยะสั้นจากความกังวลเรื่องภาวะการค้าโลก แต่เรายังชอบหุ้นธนาคารใหญ่อย่าง BBL และ KTB AIRA ประเมินว่าดัชนีในสัปดาห์หน้า มีโอกาสลงทดสอบแนวรับ 1,760 จุด จากแรงกดดันเรื่องความไม่แน่นอนในเชิงนโยบายการค้าโลก (โดยเฉพาะ สหรัฐฯ-จีน) ที่อาจลุกลามเป็นสงครามการค้าได้ โดยเรื่องนโยบายการค้า และนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่เป็นไปในทางกีดกันทางการค้ามากขึ้น (Protectionism) สะท้อนความกังวลออกมาในรูปของเงินดออลาร์ที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยแม้ว่า AIRA จะมองว่ามีความน่ากังวลอยู่บ้าง หลังจากเกิดการปรับคณะทำงานส่วนนี้ในหลายตำแหน่ง เช่น รัฐมนตรีต่างประเทศ, ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ และ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง เป็นต้น ซึ่งแสดงถึงความขัดแย้งในเชิงนโยบายในสหรัฐฯ ซึ่งมักจะเป็นหัวข้อข่าวตามสื่อต่างๆ เสมอ แต่ AIRA มองว่าสุดท้ายแล้วผลกระทบที่แท้จริง จะอยู่ในวงจำกัดเพียงบางอุตสาหกรรม เพื่อนำไปสู่การเจรจาในท้ายที่สุด โดยเรามองว่ามีโอกาสไม่มาก ที่จะเกิดสงครามการค้าเต็มรูปแบบ เนื่องจากเป็น Loss-Loss Situation อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นต้องจับตาความเคลื่อนไหวล่าสุดที่ นายโดนัล ทรัมป์ เตรียมประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน ในวงเงิน 6 หมื่นล้านดอลลาร์  เพื่อตอบโต้จีนในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และเพื่อเพิ่มอัตราการจ้างงานให้ชาวสหรัฐฯ ซึ่งในทางกลับกันจีนอาจมีมาตรการตอบโต้ออกมาบ้าง ล่าสุดก็อาจจะขึ้นภาษีหมูและไวน์ แต่ขนาดยังไม่มากนักที่ระดับ 3 พันล้านเหรียญ แต่ถ้าลุกลามบานปานอาจเป็นปัญหาได้ ในภาพรวมปฏิกริยาของตลาดทุนต่อ FED ในช่วงถัดจากนี้ เราประเมินว่ามีแนวโน้มดีขึ้น โดยช่วงราว 2 เดือนที่ผ่านมา ตลาดทุนผิดคาดไปบ้างกับนโยบายของ FED ภายใต้ประธานใหม่  นายเจอโรม พาวเวลล์  ที่มีแนวนโยบายผ่อนปรนน้อยกว่าในยุคของนางเจเน็ต เยเลน และเป็นเหตุผลให้ตลาดต้องมีการปรับฐาน และมีการปรับ Asset Allocation ทั่วโลก โดยเฉพาะการปรับลดการถือครองพันธบัตรระยะยาวลง และทำให้ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปีสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนำมาสู่ความตื่นตระหนกบ้างต่อตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้านเศรษฐกิจไทย ค่อนข้างชัดเจนว่าการเติบโตจากเศรษฐกิจโลกในทุกภูมิภาค ผลักดันให้ในบาง Sector ของไทยได้อานิสงค์จาก Demand นอกประเทศ เช่นการส่งออก และการท่องเที่ยว โดยล่าสุดยอดการส่งออกในรูปดอลลาร์เดือน ก.พ. เติบโต 10.3% YoY รวม 2 เดือนแรกของปี 61 การส่งออกเติบโตถึง 13.8% YoY ดุลการค้าเกินดุล 688.5 ล้านดอลลาร์ ขณะที่สถานการณ์การท่องเที่ยวยังคงสดใสต่อเนื่อง ล่าสุด นักท่องเที่ยวเดือน ก.พ. อยู่ที่ 3.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น ถึง 19% YoY กลยุทธ์การลงทุนในภาพใหญ่  AIRA มองว่า สภาพคล่องที่ยังอยู่ในระดับสูง ยังสามารถที่จะรองรับเม็ดเงินของต่างชาติที่ทยอยไหลออกได้ แต่ด้วยดัชนีที่ปรับขึ้นมาพอสมควร (แม้จะมีการปรับฐานบ้างในช่วงหลัง)  ประกอบกับการขาดปัจจัยใหม่ และเริ่มมีความเหวี่ยงไหวใน Sentiment มากขึ้น หลังนโยบายเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความไม่แน่นอนในระยะสั้น AIRA จึงยังไม่แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนอย่างมีนัยฯ แต่อาจพิจารณาปรับพอร์ตในลักษณะ Rotation โดยเฉพาะจากหุ้นกลุ่มพลังงานที่ปรับตัวขึ้นไปแบบกระจุกตัวก่อนหน้าไปสู่กลุ่มอื่น โดยครั้งนี้ AIRA แนะนำเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดย AIRA มองว่าวัฏจักร NPL ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วใน 4Q60 และภาคธุรกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคการส่งออก รวมถึงโครงการลงทุนภาครัฐที่ยังเดินหน้าได้ต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยหนุนสินเชื่อ แก่ธนาคารพาณิชย์ ขนาดใหญ่ ประกอบกับการบังคับใช้มาตรฐาน IFRS9 ในปีหน้าที่อาจทำให้กลุ่มธนาคารต้องมีภาระการสำรองมากขึ้น ในประเด็นนี้เรามองว่าตลาดตอบรับไปแล้ว ครั้งนี้ AIRA แนะนำเป็นหุ้น BBL และ KTB โดยมีมูลค่าเหมาะสมที่ 221 บาท และ 22.70 บาท ตามลำดับ โดยมีปัจจัยเฉพาะตัวดังนี้ BBL : - BBL ลงนามสัญญา Bancassurance กับ AIA เป็นเวลา 15 ปี คาดว่าจะเริ่ม launch สินค้าของ AIA ได้ช่วง 1Q61 โดย BBL จะได้รับรายได้เป็น Revenue Sharing และค่า Commission  ทำให้เรามองว่าดีลดังกล่าวจะช่วยทำให้รายได้ค่าธรรมเนียม BBL เติบโตได้แข็งแกร่งในปีหน้า - คาดโครงการลงทุนภาครัฐช่วยหนุนสินเชื่อในปี’61 หลัง BBLร่วมกับ KTB และ SCB สนับสนุนสินเชื่อให้โครงการสายสีชมพู และเหลือง (Syndicate Loan) วงเงินกู้รวม 63,360 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนของ BBL ประมาณ 33% หรือคิดเป็นวงเงิน 21,120 ล้านบาท คาดเริ่มเบิกจ่ายช่วง 4Q60  - คาดกำไรสุทธิปี’61 เติบโต 11% คาดอยู่ที่ 36,635 ล้านบาท (EPS 19.19 บาท) หลักๆ จากการตั้งสำรองหนี้ที่ลดลง 8.60% จากปี’60 หลังเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัว คาดวัฎจักร NPL เริ่มเป็นขาลง ทำให้คาดไม่ต้องตั้งสำรองหนี้จำนวนมากเช่นปี’60 KTB : ลุ้นบันทึกกำไรพิเศษจากกรณี AQ โดย KTB ยังรอบันทึกกำไรจากการขายทอดตลาดที่ดินของ AQ จะทำให้บันทึกกำไรประมาณเกือบ 10,000 ลบ. (ยังไม่ได้รวมเข้าในประมาณการกำไร) อย่างไรก็ตามกำไรพิเศษดังกล่าวเราคาดว่าจะมีบางส่วนจะนำกลับไปเป็นสำรองส่วนเกินเพื่อรองรับกับมาตรฐาน IFRS9 ที่จะบังคับใช้ในต้นปี 62 กำไรปี 61 เติบโตกว่า 40% เราคาดประมาณการกำไรปี 61 ที่ 31,841 ลบ.(EPS 2.28) หรือเพิ่มขึ้นกว่า 40% โดยเราคาดว่าค่าใช้จ่ายในการสำรองหนี้จะลดต่ำลง 28.5% จากปี 60 จากคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้นและไม่มีการตั้งสำรองหนี้ก้อนใหญ่ เช่นปี 60 (EARTH 12,000 ลบ.)  แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 22.70 บาท ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside กว่า 12% ในขณะที่เราคาดเงินปันผลที่ 0.64 บาท/หุ้น คิดเป็น Dividend Yield ที่ 3.35% ทำให้เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 22.70 บาท อิง PBV ที่ 1.04 เท่า
แสดงเพิ่ม