รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 794 ปฎิรูปภาษีปี 2562 | กรมสรรพากร

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 794 ปฎิรูปภาษีปี 2562 | กรมสรรพากร

รับชม 1 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
เรื่องภาษี เป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้มีรายได้ทุกคน ซึ่งที่ผ่านมาทางกรมสรรพากร ก็พยายามจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โดยยึดเป้าหมายทั้งการดำเนินตามนโยบายรัฐและแผนยุทธศาสตร์ของชาติ การอำนวยรายได้ให้กับภาครัฐ และในอีกทางหนึ่ง ก็ต้องจัดเก็บภาษีให้มีความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีด้วย ซึ่งที่ผ่านมา ก็มีการปรับปรุงเรื่องการจัดเก็บภาษีมาโดยตลอด รวมทั้งให้สิทธิในการลดหย่อนต่างๆ ในปีนี้ ก็มีเรื่องของค่าลดหย่อนต่างๆที่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งก็อยากให้ประชาชนใช้สิทธิ โดยหลัก จะมีอยู่ด้วยกัน 5 ส่วน ส่วนแรกคือค่าลดหย่อนของการทำประกันสุขภาพ ในแต่ละปีจะหักได้ 15,000 บาท แต่ปีนี้พิเศษ คือเราให้ทางบริษัทประกันแจ้งข้อมูลมายังกรมสรรพากรโดยตรง ผ่านการยินยอมของผู้ประกัน เพื่อลดการจัดเก็บเอกสาร หรือเสี่ยงต่อการเอกสารหาย ชำรุด ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกัน บริษัทประกันและทางกรมสรรพากร ส่วนที่สอง จะเกี่ยวกับเรื่องบุตร เพราะอัตราการเกิดของประเทศไทยค่อนข้างต่ำ จึงได้มีการเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับบุตรคนที่สอง จากปกติ 30,000 บาท เพิ่มเป็น 60,000 บาท เพียงแต่อาจจะต้องศึกษาในรายละเอียด หากเป็นกรณีพิเศษ เช่นการแต่งงานครั้งที่สอง แต่สามีหรือภรรยา มีลูกติด แบบนี้จะนำมาลดหย่อนได้หรือไม่ ซึ่งหลักการก็ไม่ยาก คือนับบุตรคนที่สองตามกฏหมาย หากเป็นลูกตนเอง คนที่สอง สามารถลดหย่อนได้เลย แต่ถ้าเป็นลูกติดจากภรรยา อันนี้ภรรยาลดหย่อนได้ สามีลดไม่ได้ แต่ถ้าภรรยาไม่ใช้สิทธิ สามีก็นำสิทธินี้ มาใช้ได้เช่นกัน ส่วนที่สาม เป็นเรื่องค่าคลอดบุตร ก็นำมาหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท แต่ถ้าคร่อมปี เช่นเข้าโรงพยาบาลปลายปี แต่คลอดต้นปีหน้า ก็หักลดหย่อนตามค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นตามปีนั้นๆ ส่วนที่สี่ คือเรื่องท่องเที่ยว ปีนี้เราเน้นไปที่เมืองรอง การท่องเที่ยวในเมืองรองทั้งซื้อแพคเกจทัวร์ หรือเที่ยวเอง ก็นำค่าโรงแรมมาหักลดหย่อนได้ 15,000 บาท ส่วนที่ห้าคือเรื่องเงินบริจาค ตอนนี้เราพยายามจัดทำระบบ E-Donation เบื้องต้น วัดหรือมูลนิธิ จะทำการคีย์ข้อมูลเมื่อท่านบริจาคเงิน เข้ามายังกรมสรรพากร เพื่อลดการจัดเก็บเอกสาร และในอนาคต จะพัฒนาให้เป็นระบบ QR code ที่จะเพิ่มความสะดวกในการจัดส่งข้อมูลมากยิ่งขึ้น ในส่วนของการพัฒนาเรื่องภาษีนั้น ต้องยอมรับว่าประมวลกฏหมายรัษฎากรที่ใช้อยู่ อายุเกือบ 30 ปีแล้ว ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศ และแน่นอนว่า จะต้องสร้างความสมดุลระหว่างการอำนวยรายได้ให้กับรัฐ และการสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้เสียภาษี ซึ่งทางกรมสรรพากร ก็พยายามพัฒนาในส่วนนี้อยู่
แสดงเพิ่ม