รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 811 ดูดี...ปี 2019 | บลจ.ทหารไทย

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 811 ดูดี...ปี 2019 | บลจ.ทหารไทย

รับชม 5 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
ดูดี... ปี 2019 ตลาดคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯใกล้ผ่านจุดสูงสุด และน่าจะเติบโตช้าลงในปีหน้า ประกอบกับความกังวลสงครามการค้า อาจทำให้เศรษฐกิจโลกปี 2019 มีลักษณะ Synchronized Slowdown (โตช้าลงกันถ้วนทั่ว) นักลงทุนในตลาดดูเหมือนจะระมัดระวังกันมากขึ้น ...เรามักตั้งคำถามต่อมุมมองทั่วๆไปเช่นนี้ว่า “จริงหรือ?” และตอบตามความคิดเห็น บนพื้นฐานของเหตุผล ประกอบกับข้อมูลเท่าที่มีอยู่ดังนี้ - เศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะโตช้าลง เพราะผลจากมาตรการลดภาษี/เพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งดำเนินมาเกือบครบปี น่าจะค่อยๆเบาบางลง ขณะที่ความขัดแย้งด้านการค้ากับจีน เริ่มกระทบเศรษฐกิจสหรัฐฯบ้างแล้ว จนนำมาซึ่งการตกลงพักรบสงครามการค้า 90 วัน และสองฝ่ายหันกลับมาเจรจากัน - สงครามการค้า ควรจะซาลง จนไม่น่าจะกดดันตลาดเท่าไรนักในปี 2019 (เมื่อเทียบกับความกังวลสุดขีดในปีนี้) เพราะ “การตั้งกำแพงภาษี” ถึงจุดหนึ่งก็ติดข้อจำกัดของตัวมันเอง (ถ้าตั้งครบทุกรายการแล้วก็จบ, ภาคธุรกิจ/ผู้บริโภคสหรัฐฯเริ่มเดือดร้อนต้องซื้อของแพงขึ้น เพราะความต้องการสูงแต่ผลิตเองยังไม่ทัน) แต่การต่อสู้ระหว่าง สหรัฐฯ-จีน ที่น่าจะยังคงดำเนินไปอีกนานหลายปี คือ “สงครามเย็นด้านเศรษฐกิจ” (economic cold war) มุ่งชิงความเป็นจ้าวเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งไม่น่าจะกระทบการค้าโลกโดยตรง - Synchronized Slowdown (เศรษฐกิจโตช้าลงกันถ้วนทั่ว) ไม่น่าจะจริง เพราะเราเชื่อว่าในปี 2019 เศรษฐกิจประเทศอื่นๆน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นมาทาบ เศรษฐกิจสหรัฐฯซึ่งโตช้าลง หรือที่เราตั้งชื่อเรียกเองว่า “Catch-Up Growth” สาเหตุสำคัญเป็นเพราะ รัฐบาลหลายประเทศมีแนวโน้มที่จะ “กระตุ้นการคลัง” - ด้วยเหตุผลข้างต้น นักลงทุนจึงไม่ควรวิตกกังวลมากนัก แต่ควรศึกษา/แสวงหาการลงทุนที่น่าจะ “คุ้มเสี่ยง” ซึ่งมีอยู่มาก หลังจากหลายๆตลาดปรับฐาน (หรือเข้าสู่ภาวะหมี) ในปีนี้ จนระดับราคาถูกลงมากแล้ว รัฐบาลกระตุ้นการคลัง “ความเสี่ยงขาขึ้น” ในปี 2019 เรามองเห็น “ความเสี่ยงขาขึ้น” (เศรษฐกิจโลกอาจโตดีกว่าที่ตลาดคาดไว้) สาเหตุสำคัญน่าจะมาจาก “นโยบายกระตุ้นการคลัง” ของรัฐบาลหลายๆประเทศ เช่น จีน กระตุ้นเศรษฐกิจมาหลายรอบแล้ว เพื่อชดเชยผลกระทบจากสงครามการค้า, ญี่ปุ่น ต้องกระตุ้นเพื่อเตรียมรับมือผลกระทบจากการขึ้นภาษีขาย ต.ค. 2019, อินเดีย กระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเตรียมเลือกตั้งใหญ่ เม.ย.-พ.ค. 2019 ล่าสุดผู้ว่าฯแบงก์ชาติลาออก เพราะทนแรงกดดันไม่ไหว (รัฐบาลอยากให้ผ่อนคลายการเงิน), ยุโรป อิตาลีจัดงบขาดดุลงัดข้ออียู ปั่นกระแสประชานิยม จนล่าสุดฝรั่งเศสอาจต้องลดภาษี/เพิ่มการใช้จ่าย เพื่อบรรเทาความไม่พอใจของประชาชน ฯลฯ ...แนวโน้มดังกล่าว น่าจะสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2019 ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นในภาพรวม โดยเฉพาะตลาด/กลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจ ขณะหนี้สาธารณะพอกพูนขึ้น น่าจะบั่นทอนเสถียรภาพการเงินโลกในระยะยาว ทว่า “วิกฤติ” คงถูกเลื่อนออกไปก่อน หากเฟดเริ่มปรับนโยบายการเงินให้ “เข้มงวดน้อยลง” ดังที่เราคาดไว้ ดูดี... ปี 2019 + หุ้น ที่เคยแพงก็ถูกลง ที่ถูกแล้วก็ถูกอีก ตลาดที่เรา overweight อาทิ EM, เอเชีย, จีน, อินเดีย, ไทย, ญี่ปุ่น, ยุโรป โดยชอบหุ้นในกลุ่มที่เติบโตไปตามภาวะเศรษฐกิจ + ตราสารหนี้ หลายกลุ่มมี yield spreads กว้างขึ้นมากจนเริ่มน่าสนใจ เช่น EM, เอเชีย รวมถึง high yield บางตลาด + สินทรัพย์ทางเลือก “ทองคำ” น่าจะใช้กระจายความเสี่ยงได้ดีใน theme นี้ เพราะหนี้สาธารณะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะยาว ขณะธนาคารกลางอาจโดนกดดันให้ผ่อนคลายการเงิน เพื่อช่วยรัฐบาลลดภาระดอกเบี้ย ขณะที่ “อสังหาฯ” (REITs, Property Funds, Infrastructure Funds) น่าจะทำได้ดี หากเฟดเริ่มคลายความเข้มงวดตามที่เราคาดไว้
แสดงเพิ่ม