รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 815 ทิศทางและกลยุทธ์การลงทุนในปี '62 | บล.ไอร่า

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 5 EP 815 ทิศทางและกลยุทธ์การลงทุนในปี '62 | บล.ไอร่า

รับชม 2 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
“หุ้นไทยปีนี้เริ่มต้นมาอย่างสดใสก่อนเจอปัจจัยลบกดดันให้ตลาดย่อลงมาสู้จุดต่ำสุดช่วงปลายปี แต่ยังมีหุ้นบางกลุ่มที่ลงทุนได้ แม้โดยรวมตลาดน่าจะยังเจอกดดันต่อ” บล. ไอร่า มองว่า ตลาดหุ้นไทยช่วงนี้กลับมาถูกกดดันจากปัจจัยเดิมต่างประเทศ ในหลายประเด็น ตั้งแต่ประเด็นแรก คือความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกหลังจากตัวเลขเศรษฐกิจหลายๆ ประเทศ ทั้งสหรัฐฯ จีน ยุโรป และญี่ปุ่น ส่งสัญญาณชะลอตัว ถัดมาคือเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับลดลงต่อเนื่อง จากคาดการณ์ว่าความต้องการมีแนวโน้มชะลอตัว แม้ต้นเดือนที่ผ่านมา กลุ่มผู้ผลิตน้ำมันทั้ง OPEC (0.8 ล้านบาร์เรล/วัน) และ Non OPEC (0.4 ล้านบาร์เรล/วัน) มีมติร่วมกันที่จะลดปริมาณผลิตน้ำมันในปีหน้า รวมแล้ว 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ปัจจัยต่างประเทศ (1) ทิศทางเศรษฐกิจโลก ที่ส่งสัญญาณชะลอตัว (2) ประเด็นข้อพิพาททางการค้า ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งอาจกลับมาสร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาด หากการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ประสบความสำเร็จ คาดจะมีการออกมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น (3) นโยบายการเงินของธนาคารกลางหลายประเทศ ที่ก่อนหน้านี้ส่งสัญญาณลดการใช้นโยบายแบบผ่อนคลาย แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนจากตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดของหลายประเทศ รวมถึงสหรัฐฯ ที่ตัวเลขการจ้างงานซบเซา และอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัว ทำให้มีการคาดการณ์ว่าเฟดอาจชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าออกไปก่อน ขณะที่การประชุม ECB ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกาศประกาศยุติโครงการ QE ช่วงสิ้นเดือนนี้ หลังเข้าซื้อพันธบัตรในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านยูโร (1.74 หมื่นล้านดอลลาร์) ต่อเดือนก่อนหน้านี้ (4) ราคาน้ำมัน ที่คาดราคาถูกกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันส่วนเกินอยู่อีก ประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรล แม้จะมีแผนการลดลงแล้ว 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในปีหน้า ก็ตาม คาดราคาน้ำมันในปี’62 มีโอกาสปรับลดลงจากปีนี้ – YTD อยู่ที่ 70USD/บาร์เรล คาดอยู่ที่ประมาณ 60 – 65USD ซึ่งอาจส่งผลต่อผลประกอบการหุ้นในกลุ่มพลังงาน ที่คาดมีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดประมาณการในปีหน้าลง เพื่อสะท้อนราคาน้ำมัน ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะมองว่าอยู่ที่ประมาณ 70 – 75USD (5) วิกฤตหนี้ยุโรป และประเด็น Brexit ปัจจัยในประเทศ ในปีหน้าเรามองว่าจะได้รับปัจจัยหนุนเข้ามาบ้างจากประเด็นการเลือกตั้ง สส. ที่จะเกิดขึ้นในเดือน ก.พ. แต่คาดต้องใช้ระยะเวลาในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ภายใต้รูปแบบการสรรหานายกฯ ที่ต้องได้รับเสียงสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 376 เสียง จากเสียงทั้งหมด 750 เสียง มาจาก สส. 500 เสียง และ สว. อีก 250 เสียง โดยในส่วนการได้มาของ สว. คาดจะแล้วเสร็จในช่วงประมาณเดือน พ.ค. หลังจากนั้นคาดใช้เวลาจัดตั้งรัฐบาล คาดช่วงเดือนมิถุนายน หรือช่วงกลางปีหน้า ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจบ้านเราในปีหน้า คาดขยายตัว 3.5 – 4.5% ชะลอตัวจากปีนี้ที่คาดการณ์อยู่ที่ ประมาณ 4.2% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งออกที่ขยายตัวลดลง จาก 7.2% ในปีนี้ เป็น 4.6% ในปีหน้า แต่การลงทุนในประเทศทั้งจากภาคเอกชนและรัฐ ยังขยายตัวต่อเนื่องในปีหน้า คาดอยู่ที่ 4.7% และ 6.2% จาก 3.7% และ 5.0% ในปีนี้ ตามโครงการก่อสร้างภาครัฐที่มีการเร่งตัวมากขึ้น ซึ่งทำให้ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นและลงทุนตามมา ด้านเป้าหมายดัชนีหุ้นไทยปีหน้า ประเมินกรณี Base Case ภายใต้ประมาณการ EPS Growth อยู่ที่ 5% หรือประมาณ 111 บาท เป้าหมายดัชนีแรกอยู่ที่ ประมาณ 1,780 จุด จากการใช้ PE ประมาณ 16 เท่า ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่ AIRA แนะนำคือทยอยสะสมหุ้นในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากปัจจัยในประเทศ ได้แก่ (1) ประเด็นการเลือกตั้ง เช่น กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง (2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น เช่น กลุ่มธนาคาร (3) ส่วนในระยะสั้นคาดเป็นแรงเก็งกำไร Window Dressing – สำหรับปิดงบปี’61 ที่น่าจะเกิดขึ้นปลายเดือน รวมถึงการกลับเข้าซื้อสุทธิของต่างชาติ และแรงซื้อต่อเนื่องของสถาบันในประเทศ โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ ขณะที่คาดกลุ่มที่อยู่อาศัย ยังได้รับ Sentiment ลบ จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยใหม่ โดยบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย 62 ซึ่งส่งผลต่อ (1) ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 2 หลังขึ้นไป โดยผ่อนหลังแรกยังไม่หมด และ (2) ผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าตั้งแต่ 10 ล้านบาท เป็นต้นไป ส่วนหุ้นแนะนำเป็น “KTB “ • เป็น 1 ในหุ้นกลุ่มธนาคารที่ได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น หลัง กนง. ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.25% จาก 1.50% เป็น 1.75% โดย KTB มีสัดส่วนสินเชื่อที่อิงกับอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สูงถึง 88% คาดช่วยให้ Net Interest Margin ปรับตัวดีขึ้น (3Q/61 ประมาณ 3.24%) • ในระยะสั้นยังมีความน่าสนใจจากผลของการขายทอดตลาดที่ดินของ AQ เมื่อวันที่ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา (มีผู้ชนะการประมูล คือ บริษัท ทีอาร์เอ แลนด์ ดีเวลลอปเม้นต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง TICON(50%), ROJNA(25%) และนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย(25%) ด้วยราคา 8,914 ล้านบาท) คาด KTB สามารถรับรู้กำไรพิเศษ มูลค่าประมาณ 8,300 ล้านบาท ซึ่งคาดบันทึกช่วง 1Q62 • ขณะที่คาดกำไรบางส่วนจะถูกนำไปตั้งสำรองพิเศษ เพื่อรองรับกับ IFRS9 ที่จะบังคับใช้ปี’63 เนื่องจากปัจจุบัน Coverage Ratio ของ KTB ที่ 122% ถือว่าต่ำสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ (140% - 180%) • ทางด้านผลประกอบการคาดเติบโตต่อเนื่อง คาดกำไรสุทธิปี ’62 เพิ่มขึ้น 23% อยู่ที่ประมาณ 32,000 ล้านบาท และคาด Dividend Yield สูงเกือบ 5.0% ราคาเป้าหมายปี’62 ที่ 23.20 บาท
แสดงเพิ่ม