รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 825 เลือกตั้ง เรื่องน่ารู้ ก่อนไปหย่อนบัตร 24 มี.ค. นี้

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 825 เลือกตั้ง เรื่องน่ารู้ ก่อนไปหย่อนบัตร 24 มี.ค. นี้

รับชม 5 ครั้ง|
1
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
1. เลือกตั้งบัตรใบเดียวคืออะไร การเลือกตั้งครั้งนี้มี ‘บัตรเลือกตั้งใบเดียว’ ให้เราตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือก ‘ส.ส. แบบแบ่งเขต’ นอกจากนี้คะแนนจากการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตดังกล่าวจะถูกนำไปคำนวณอีกครั้งเพื่อหาจำนวน ‘ส.ส. ที่แต่ละพรรคพึงจะได้รับ’ และเมื่อนำไปหักลบกับจำนวน ส.ส. แบบแบ่งเขตที่แต่ละพรรคได้รับเลือกมาแล้วก็จะได้ออกมาเป็นจำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้รับอีกครั้ง ข้อดีของบัตรเลือกตั้งใบเดียวคือคะแนนจะไม่ตกน้ำ เพราะเท่ากับว่ากากบาทเพียง 1 ครั้ง คะแนนจะถูกนับในระบบ ส.ส. แบบแบ่งเขต และคะแนนที่เลือกไปนั้นจะถูกนำไปคิดรวมเป็นคะแนนของพรรคเพื่อคำนวณหา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อในคราวเดียวกัน 2. ทำไมแต่ละพรรคจึงมีหลายเบอร์ นายประพันธ์ นัยโกวิท หนึ่งในกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเจ้าของแนวคิดนี้ได้ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ผู้สมัครในแต่ละเขตแสดงความรู้ความสามารถของตัวเอง ไม่ใช่อาศัยหมายเลขพรรคในการพึ่งพาเพื่อช่วยให้ได้เป็น ส.ส. นอกจากนี้การใช้เบอร์ ส.ส. เขตเป็นเบอร์เดียวกับเบอร์พรรคทั่วประเทศก็มีผู้เห็นว่าอาจทำให้เกิดการซื้อเสียงในวงกว้างได้ง่ายทั่วประเทศ และอาจเกิดการทุจริตเกี่ยวกับบัตรเลือกตั้งได้ง่ายกว่าบัตรเลือกตั้งที่ได้เบอร์แตกต่างกันไปตามเข 3. เลือกตั้งไปทำไม และหากไม่ไปเลือกตั้งจะเสียสิทธิอะไร นโยบายก็คือกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งครอบคลุมชีวิตของเราในทุกมิติ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นนโยบายอะไรก็ล้วนผูกพันกับผู้แทนของเราที่ถูกเลือกเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา หากเราไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้เราเสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้ (1) สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. (2) สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น ส.ว. (3) สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน (4) ต้องห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง (5) ต้องห้ามดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจำกัดสิทธิทั้ง 5 ข้อ กำหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้เริ่มนับเวลาการจำกัดสิทธิ 2 ปีใหม่จากวันที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิครั้งล่าสุด 4.ในคูหาห้ามทำอะไรบ้าง ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ และห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่สำคัญ ห้ามถามว่าใครเลือกเบอร์ไหนด้วยนะ (Exit Poll) 5.วันเลือกตั้งต้องเตรียมอะไรไปบ้าง สำหรับหลักฐานที่ใช้ในการเลือกตั้งคือบัตรประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้) แต่ถ้าหาไม่เจอสามารถใช้บัตรหรือหลักฐานที่ หรือหน่วยงานของรัฐออกให้ โดยต้องมีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง (พาสปอร์ต) เลือกตั้งกี่โมงเวลา 9 ชั่วโมงในการเดินทางไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. (การเลือกตั้งครั้งก่อนๆ 08.00 - 15.00 น.) นอกจากเรื่องเหล่านี้ สิ่งที่มักสร้างความตื่นเต้น และปลุกกระแสการเลือกตั้ง คือ ผล Poll จากที่ต่างๆ ผล poll ชี้ “ปัญหาปากท้อง”เรื่องใหญ่จากของคนไทย “คนรุ่นใหม่” ถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งจากผลสำรวจ ความนิยม คนรุ่นใหม่ มักจะเปลี่ยนไปตามกระแส ขณะที่ พฤติกรรมการออกไปใช้สิทธิของเยาวชน ยังไม่ความไม่แน่นอน เราคงต้องและเกาะติด พร้อมทั้งส่งเสริมให้ “คนรุ่นใหม่”ออกไปใช้สิทธิ เพื่อเป็นคำตอบให้กับ ประเทศ พร้อมก้าวใหม่ที่จะเดินไป
แสดงเพิ่ม