รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 835 เรื่องวุ่นๆ ในเศรษฐกิจโลก ที่นักธุรกิจไทยควรรู้

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 835 เรื่องวุ่นๆ ในเศรษฐกิจโลก ที่นักธุรกิจไทยควรรู้

รับชม 3 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
เรื่องวุ่นๆ ในเศรษฐกิจโลก ที่นักธุรกิจไทยควรรู้ "EU-"Hard Brexit"-"สงครามการค้า สหรัฐฯ -จีน" - "ดอกเบี้ยเฟด"- "ตลาดเกิดใหม่" 5 เรื่องใหญ่ ของคนลงทุน รู้ไว้ไม่ตกเทรนด์ ความไม่แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก กำลังส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และสภาวะธุรกิจ ซึ่งรวมถึงผู้ประกอบไทย ที่จะต้องเตรียมตัวรับมือกับความผันผวนและเหตุการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ ก็เกี่ยวข้องไปกับการลงทุน โดย 5 ประเด็นทั่วโลกที่มีพัฒนาการน่าติดตามต่อ มีดังนี้ 1.สหภาพยุโรป (EU) EU กำลังเผชิญปัจจัยเสี่ยงรูปแบบใหม่ที่อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ได้แก่ (1) เศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐฯ ที่กำลังจะเข้าสู่ช่วงขาลงของวงจรเศรษฐกิจ (2) การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯต่อประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ประกอบกับความขัดแย้งทางการค้าที่เพิ่มขึ้น (3) ปัญหาการก่อหนี้ใหม่ในระยะยาวทั้งในภาครัฐและเอกชน อาทิ ปัญหาการตั้งงบประมาณขาดดุลจำนวนมากของรัฐบาลอิตาลี เป็นต้น โดยอิตาลีเป็นประเทศซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ประมาณ 17% ของเศรษฐกิจยุโรป ยุโรปยังประสบปัญหา "Shadow Banking" หรือการดำเนินธุรกรรมการเงินและการธนาคารนอกระบบ ที่มีจำนวนมากขึ้นหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป ทำให้ยากต่อการควบคุมและตรวจสอบ ปัจจุบัน ธนาคารกลางยุโรป ECB มีท่าทีการใช้นโยบายบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยความระมัดระวังเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อเตรียมรับมือกับความเป็นไปได้ที่จะเกิดวิกฤติการเงินในอนาคต รวมทั้งความเสี่ยงในภาคการลงทุนจากการขาดสภาพคล่อง ECB จึงอาจจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เช่น การกำหนดสภาพคล่องขั้นต่ำ และการกำหนดระยะเวลาในการแจ้งไถ่ถอนหุ้นกู้ ประเด็นความอ่อนไหวของเศรษฐกิจยุโรปนี้ นอกเหนือจากการลงทุนแล้ว คนที่ทำธุรกิจท่องเที่ยว ก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน 2.โอกาสเกิด “Hard Brexit” อังกฤษ พยายามที่จะออกจากสหภาพยุโรปแบบนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไป แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่คาด หากเกิดขึ้นจริง จะส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงประเด็นกฎหมายด้านภาษีที่จะใช้กับภาคการธนาคาร และการสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ๆ อย่างไรก็ดี Brexit ได้สร้างโอกาสการเป็น "ศูนย์กลางทางการเงินของยุโรปแห่งใหม่ให้กับฝรั่งเศสและเยอรมนี" โดยรัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งใหม่ในสหภาพยุโรป (อียู) โดยเฉพาะนครแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งได้รับการจัดอันดับใน Global Financial Center Index 2018 ให้อยู่ในลำดับที่ 10 ของโลก มีคาดการณ์ว่าจะมีการย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสถาบันต่างๆ ราว 30 แห่งมาอยู่ที่เยอรมนี ทั้งภาคการธนาคาร ประกันภัย และการจัดการสินทรัพย์ รัฐบาลเยอรมนียังได้หารือกับตลาดหลักทรัพย์เยอรมนี (Deutsche Borse) เพื่อผลักดัน Eurex Exchange บริษัทในเครือตลาดหลักทรัพย์ให้เป็น Clearing House แห่งใหม่ของอียูด้วย 3.สงครามการค้า สหรัฐฯ -จีน กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จากการเจรจาระหว่างสองฝ่าย โดยสหรัฐฯ มีข้อเรียกร้องจีน 2 ข้อ คือ 1.ให้จีนเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ และ 2.ให้จีนรักษาเสถียรภาพค่าเงินหยวน เพราะที่ผ่านมา สหรัฐมองว่า รัฐบาลจีนบริหารเงินหยวนอ่อนค่าเกินไป จนทำให้สินค้าจีนราคาถูกกว่าความเป็นจริง จากท่าทีที่ผ่อนคลายลงและการพยายามหาทางออกของทั้งคู่ ทำให้นักลงทุนมีความหวังว่าการเจรจารอบนี้น่าจะประสบความสำเร็จมากกว่าครั้งก่อนๆ อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์การเจรจากลับมาล้มเหลว ก็เป็นไปได้มากว่าจะยิ่งกดดันภาพเศรษฐกิจมากขึ้น หลังจากที่เครื่องชี้ต่างๆ แสดงถึงความอ่อนแอลง ล่าสุด ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของจีนลดลง ในเดือนกุมภาพันธ์ ชี้ว่ากิจกรรมในภาคการผลิตหดตัวเป็นเดือนที่สามติดต่อกัน นักวิเคราะห์มองว่าแนวโน้มที่เศรษฐกิจจีนซบเซา จะไม่จบลงเร็วๆ นี้ นอกจากสงครามการค้าจะสงบศึกลงอย่างแท้จริง 4.ดอกเบี้ยเฟด เป็นที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ตอกย้ำด้วยคำแถลงล่าสุดของ “เจอโรม พาวเวลล์” ประธานธนาคารกลางสหรัฐ ที่เข้าให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการธนาคาร วุฒิสภาสหรัฐฯ เขาชี้ว่าการที่ราคาพลังงานลดลงรอบล่าสุด มีแนวโน้มกดเงินเฟ้อให้ลดลงต่อเนื่อง ต่ำกว่าเป้า 2% สอดคล้องกับแถลงการณ์การประชุมนโยบายดอกเบี้ยหนล่าสุดของเฟด ที่ระบุว่าจะอดทนรอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากปีที่แล้วเฟดขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 4 ครั้ง แต่ด้วยสถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอนต่อเนื่อง โดยเฉพาะความขัดแย้งทางการค้า จึงมีความกังวลเรื่องเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประธานเฟดย้ำว่าการขึ้นดอกเบี้ยครั้งต่อไปต้องขึ้นอยู่กับ ข้อมูลเศรษฐกิจปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต 5.ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ความเชื่อมั่นต่อตลาดกลุ่ม EM ดูดีขึ้น สะท้อนผ่านตลาดหุ้นที่กลับมา Outperform หลังจากปีที่แล้วตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลง จนทำให้มูลค่าพื้นฐานกลับมามีความน่าสนใจ ขณะปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันเริ่มทรงตัว ทำให้ผลกระทบจากราคาน้ำมันลดน้อยลง นอกจากนี้ การที่ค่าเงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้ากลับสู่ตลาด Emerging Market - อินเดีย อินเดียมีระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยภาคบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก มีภูมิคุ้มกันจากสงครามการค้า สหรัฐและจีนที่ยังคงมีความไม่แน่นอน และยังได้ประโยชน์จากท่าทีการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐ ที่ส่งผลให้ค่าเงินรูปีของอินเดียกลับตัวดีขึ้น - จีน แม้ว่าเศรษฐกิจจีน อยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากการตกลงทางการค้าที่ยังไม่ชัดเจนกับสหรัฐ แต่รัฐบาลจีน ก็มีเครื่องมือด้านนโยบายจำนวนมาก ที่จะนำมาใช้เพื่อสนับสนุนกลับมาเติบโตในอนาคต จากเหตุการณ์ทั่วโลกที่เกิดขึ้น สามารถมองได้ว่าเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาส ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจไทยได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน
แสดงเพิ่ม