รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 877 ลงทุนอย่างไร...หุ้นไทยครึ่งปีหลัง

รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 EP 877 ลงทุนอย่างไร...หุ้นไทยครึ่งปีหลัง

รับชม 3 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
SCBS ลุ้นครึ่งปีหลัง ความเสี่ยงเศรษฐกิจคลี่คลาย มุมมองเศรษฐกิจของ SCBS ยังฝากความหวังไว้ว่าสงครามการค้าจะมีทางออก ช่วยหนุนภาคส่งออก ขณะกำลังซื้อในประเทศได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรการภาครัฐและภาคท่องเที่ยว ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ บอกว่าถ้าดูตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สิ่งที่ทาง SCBS ประเมินไว้ค่อนข้างเป็นไปตามคาด โดยในช่วงครึ่งปีแรก ความเสี่ยงสูงจากปัจจัยต่างประเทศ กระทบมาสู่ภาคการส่งออกและท่องเที่ยว โดยภาพใหญ่เศรษฐกิจไทยนั้น เรียกว่าเป็นช่วง Peak เมื่อช่วงต้นปี 2561 และค่อยๆ ชะลอตัว ในช่วงครึ่งหลังของปี ต่อเนื่องมาสู่ปีนี้ ที่เผชิญประเด็นใหญ่อย่างความเสี่ยงสงครามการค้าที่ยืดเยื้อ ภาพการชะลอตัวที่เหนือความคาดหมาย ภาคการลงทุนชะลอตัวค่อนข้างชัดเจน สะท้อนได้จากตัวเลขของ ธปท. และกระทรวงการคลัง ที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนมีนาคมชะลอตัวมาก เป็นผลมาจากการผลิตภาคอุตสาหกรรม รายได้ของเกษตรกร จำนวนนักท่องเที่ยว รวมถึงการลงทุน “ภาคส่วนนี้แผ่วลง จากที่เคยประเมินว่าจะเป็นแรงหนุนภาพในครึ่งปีแรก” สัดส่วน 70% ของ GDP ให้น้ำหนักอยู่ที่ภาคการส่งออก กลับมาสะดุด ติดลบจากปัจจัยต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ทำให้ SCBS คาดการณ์ GDP ในไตรมาสแรก ที่ 3% และอาจจะมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในช่วงท้ายๆ ของไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีหลังปีนี้ จับตาต่อเนื่องกับประเด็นสงครามการค้า จีน-สหรัฐ เป็นเรื่องที่ SCBS เห็นว่ามีการกลับมาโต้ตอบกันเป็นระลอก ซึ่งหากทวีความรุนแรง ก็ย่อมกระทบต่อการคาดการณ์ต่างๆ โดยกรณีที่ไม่ได้ข้อสรุปใน G20 และภาษียังคงอยู่ในเกณฑ์สูงต่อไป ภายใต้แรงกดดันนี้ ทาง SCBS ประเมินว่า GDP ของไทย น่าจะอยู่ที่ระดับเพียง 3% ภาพครึ่งหลังปี 2562 ยังมีความหวังต่อแรงขับเคลื่อนที่มาช่วยหนุน GDP ไทย โดยสิ่งที่ทาง SCBS เคยมองไว้ ให้น้ำหนักว่าภาคส่งออกจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปีนี้ แต่ด้วยเงื่อนไขว่าสงครามการค้าและการจับจ่ายของประชาชน จะฟื้นตัวดีขึ้น ฉะนั้น มองว่า จะได้ปัจจัยต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมาช่วยหนุน ประกอบกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐบาล เม็ดเงิน 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงิน 1.32 หมื่นล้านบาท 2. มาตรการภาษี วงเงิน 8.6 พันล้านบาท ซึ่งมาตรการน่าจะช่วยหนุนให้ไตรมาส 2 ได้บ้าง ในระยะสั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในครึ่งปีหลัง ก็น่าจะยังมีอยู่ มุมมองต่อนโยบายการเงิน ดร.ปิยศักดิ์ บอกว่าที่ผ่านมาเราได้ยินเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูง ทั้งหนี้ส่วนบุคคล บัตรเครดิต ไปจนถึงภาพอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ ธปท.ออกมาตรการ LTV ในช่วงเดือน เมษายน ที่ผ่านมา ที่ดูแลเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ต่อเนื่อง และนำไปสู่สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ซึ่งทาง ธปท. พยายามดูแลเสถียรภาพทางการเงินมาโดยตลอด ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้ แน่นอนย่อมมีความเสี่ยงมาก แต่การดูแลให้สมดุลนั้นเป็นสิ่งจำเป็น หากนโยบายการเงินคุมเข้มมากเกินไป นั้นก็ทำให้เศรษฐกิจเติบโตลำบาก ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ควรเลือกลงทุนในสินทรัพย์ไหน? ถ้าเชื่อว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวไปในทิศทางดีขึ้น ควรจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนใน "หุ้น" “แต่หากเชื่อว่า เศรษฐกิจมีความเสี่ยงมากขึ้น สงครามการค้าไม่จบง่ายๆ มีระดับของความรุนแรงปานกลาง เช่น ไม่ขึ้นภาษี แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ปรับลด กรณีนี้อาจจะต้องปรับน้ำหนักการลงทุนในหุ้นลดลง และแบ่งเงินบางส่วนถือ เงินสด และพันธบัตรมากขึ้น” ในมุมมองของดร.ปิยศักดิ์ ------------ อ่านข่าว คลิก ------------ ทันข่าว ก่อนใคร คลิก https://www.thunkhaochannel.com ติดตามรายการ รวยหุ้น รวยลงทุน ปี 6 ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.15-10.30 น.
แสดงเพิ่ม