“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. พร้อมรับมือฤดูฝน

“เรื่องเล่าดีดี ของคนกรุงเทพฯ” ตอน กทม. พร้อมรับมือฤดูฝน

รับชม 261 ครั้ง|
1
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
Highlights: เข้าสู่ “ฤดูฝน” ทีไร เราก็นึกถึง “น้ำท่วม” กรุงเทพฯขึ้นมาทันที เพราะต้องยอมรับว่าเป็นปัญหา Classic ด้วยหลายปัจจัย แล้วในวันนี้ปัญหาน้ำท่วม กทม. จะดีกว่าวันวาน หรือไม่ ถ้าเรามีนวัตกรรมล้ำๆ มาเป็นตัวช่วย ... ▪️ กทม. กับการเตรียมรับมือ “น้ำท่วม” เรื่องใหญ่ของคนกรุงเทพฯ ที่ทางผู้ว่าฯ กทม.ได้กำชับหน่วยงานของ กทม. ทั้ง สำนักการระบายน้ำ สำนักการโยธา สำนักสิ่งแวดล้อม และ สำนักการจราจรและขนส่ง เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน รวมถึงพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น มีหลายเรื่องด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ⁃ ระบบระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช เก็บขยะมูลฝอย เพื่อเปิดทางน้ำไหล ⁃ ดูแลป้ายโฆษณาต่างๆ ตามตึกสูง ความมั่นคงแข็งแรงของป้าย สำหรับป้ายที่ถูกกฎหมายแต่มีสภาพเก่า ชำรุด และอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ⁃ ต้นไม้ กิ่งไม้ ที่มีโอกาสหัก โค่น ได้ กรุงเทพมหานคร ในแง่ของการบริหารจัดการน้ำ ถือว่าเป็นปลายน้ำ ที่มีหน้าที่เร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วที่สุด … ทำให้ต้องนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยจัดการ ▪️ รู้จักกับ 3 เทคโนโลยี ที่ กทม.ใช้ระบายน้ำ 1) อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่หรืออุโมงค์ยักษ์ 2) บ่อหน่วงน้ำใต้ดินหรือ Water Bank 3) โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำในถนนสายหลัก (อุโมงค์ระบายน้ำ) หรือ Pipe Jacking ทั้ง 3 แบบ เป็นการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาระบบท่อระบายน้ำเดิมที่มีขนาดเล็ก และเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงท่อระบายน้ำได้ ▪️ อุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ หรือ อุโมงค์ยักษ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ด้วยการเร่งระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง โดยไม่ต้องระบายผ่านระบบคลองตามปกติ ช่วยลดระดับน้ำในคลองสายสำคัญๆ ปัจจุบัน มีอยู่ 4 แห่ง 1) โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำเปรมประชากร 2) โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสันสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 3) โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 4) โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา และมีแผนการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ▪️ Water Bank เปรียบเหมือนการสร้างแก้มลิง เป็นบ่อพักน้ำใต้ดิน ที่จะขุดไว้ใกล้กับพื้นที่ ที่มักเกิดน้ำท่วม โดยให้น้ำไหลไปเก็บไว้ เช่น แก้มลิงที่บึงหนองบอน มีโครงการที่สร้างเสร็จแล้ว 2 โครงการ และอยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก 2 โครงการ ▪️ อุโมงค์ระบายน้ำ หรือ Pipe Jacking เป็นรูปแบบของการวางท่อใหม่ที่มีขนาดใหญ่ ต่อเข้ากับท่อระบายน้ำเดิม ใต้ผิวจราจร เหมือนเราสร้างทางด่วนให้กับการระบายน้ำและเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำไปในตัว ทั้งหมดนี้ ช่วยแก้ปัญหาน้ำรอระบาย และน้ำท่วมสูง ที่สร้างปัญหาด้านการจราจร และ การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ด้วยคำคุ้นหู ว่า “ลุ่มน้ำเจ้าพระยา “ เป็นเหมือนคำที่บอกเราแล้วว่า กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่อาศัยการสูบน้ำเป็นหลัก ประกอบกับการใช้พื้นที่ในปัจจุบัน ที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามความเจริญของเมือง จึงเกิดน้ำท่วมอย่างที่เราเห็น นอกจากนี้ ยังมี 7 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ 1) มีฝนตกหนักในพื้นที่เกินขีดความสามารถของระบบระบายน้ำที่มีอยู่จะรองรับได้ 2) น้ำเหนือไหลบ่าและน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นสูงล้นแนวป้องกันน้ำท่วม 3) การทรุดตัวของพื้นดิน 4) การเติบโตและการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบระบายน้ำ พื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติไม่เพียงพอต่อการรองรับปริมาณฝนตก 5) ปัญหาขยะ วัชพืช และสิ่งก่อสร้างกีดขวางการระบายน้ำ 6) มีโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค และระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสาย ซึ่งในระหว่างงานก่อสร้างมีผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ เช่น การตัดท่อระบายน้ำ มีโครงสร้างลงไปในคลองระบายน้ำ เป็นต้น ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ประสิทธิภาพในการระบายน้ำลดน้อยลง 7) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ทำให้ฝนตกรุนแรงและปริมาณของฝนเพิ่มสูงขึ้น ▪️ กรุงเทพฯ ทรุดตัวลง ... ทุกปี เรารู้หรือเปล่า? ก่อนช่วงปี 2547 การทรุดตัวของพื้นที่กรุงเทพฯ ค่อนข้างสูงประมาณ 10 เซ็นติเมตรต่อปี แต่หลังจากที่ยกเลิกการสูบน้ำบาดาล ทำให้อัตราเฉลี่ยการทรุดตัว ลดลงเหลือเพียง 1 เซ็นติเมตร ต่อปี ▪️ ปีนี้ น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ มั้ย ? ตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังของกรุงเทพฯลดลงต่อเนื่อง จากในปี 2560 มีทั้งหมด 22 จุด ลดลงสู่ 17 จุด ช่วงปี 2561-2562 และในปัจจุบันเหลือ 14 จุด ทาง กทม. ย้ำหนักแน่นว่า ได้เร่งพัฒนาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ด้วยสภาพพื้นที่เปลี่ยนไป และปัจจัยทางธรรมชาติ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่เหมาะสม จะสามารถเป็นทางออกให้กับปัญหาน้ำท่วม กทม.ได้ ทุกวันนี้ มีการนำเอาระบบเฝ้าระวัง มาใช้ติดตามสถานการณ์ และการนำนวัตกรรมมาตรวจวัดระดับน้ำ ทั้งในคูคลอง และพื้นที่ถนนสายหลัก พี่น้องประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ▪️จุดเร่งระบายน้ำ ▪️ระดับน้ำ ▪️เส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยง ได้ที่
แสดงเพิ่ม