“ASEAN DAY 2020” สู่วิถีใหม่ ก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน

“ASEAN DAY 2020” สู่วิถีใหม่ ก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน

รับชม 0 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
อาเซียน หรือมีชื่อเต็มๆ ว่า สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ในความตึงเครียดอย่างมาก อันเป็นผลมาจากสงครามเย็นและความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ โดย ฯพณฯ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้น ได้เสนอแนวคิดที่จะให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถควบคุมทิศทางการดำเนินนโยบายด้านต่างๆ และกำหนดอนาคตของตนเองได้อย่างแท้จริง รวมทั้งยังเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด ซึ่งเป็นทั้งนักการทูตและผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศที่ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในบิดาผู้ให้กำเนิดอาเซียน ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ร่วมกันลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ที่พระราชวังสราญรมย์ เพื่อก่อตั้งอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา และเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศจัดงานวันอาเซียน เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 53 ปี ของการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ซึ่งในปีนี้เน้นการจัดงานแบบวิถีใหม่ มีการเว้นระยะห่างทางสังคม กิจกรรมสำคัญในงานครั้งนี้คือ การเชิญธงอาเซียนขึ้นสู่ยอดเสาและการสัมมนาวิชาการผ่านระบบออนไลน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอาเซียน ภายใต้หัวข้อ “อาเซียน : สู่วิถีใหม่ ก้าวอย่างไรให้ยั่งยืน ?” นางสาวอุศณา พีรานนท์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาในแต่ละปีอาเซียนมีการเดินทางไปประชุมระหว่างกันมากกว่า 300 การประชุม แต่ปัจจุบันการประชุมเหล่านั้นก็ปรับเปลี่ยนมาโดยใช้รูปแบบของการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในด้านเศรษฐกิจอาเซียนก็หันมาใช้การติดต่อซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เริ่มมีการพูดถึงการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น Telemedicine ซึ่งเป็นการเอาระบบเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามผู้ติดเชื้อต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ก็เป็นความร่วมมือของอาเซียนในการปรับตัวเข้าสู่ยุควิถีใหม่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การต่อสู้กับโรคระบาดครั้งนี้จะใช้เวลานานและไม่ง่าย หากแต่ความร่วมมือระดับภูมิภาคและทั่วโลกเท่านั้น จึงจะทำให้เราสามารถ ‘พลิกฟื้นกลับมาได้แบบแข็งแกร่งกว่าเดิม’ และเปลี่ยนวิกฤติที่มืดมิดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นโอกาสแห่งอนาคตที่สดใส ตลอด 53 ปีที่ผ่านมา อาเซียนมีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพในภูมิภาค ซึ่งช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และความสัมพันธ์อันดีในระดับประชาชน
แสดงเพิ่ม