Scoop GPSC ผนึกกำลัง ม เทคโนโลยีสุรนารี รุกโครงการติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำ

Scoop GPSC ผนึกกำลัง ม เทคโนโลยีสุรนารี รุกโครงการติดตั้งโซลาร์ลอยน้ำ

รับชม 11 ครั้ง|
ชอบ
ไม่ชอบ
แชร์
thunkhaochannel
636 วิดีโอ
บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้า กลุ่ม ปตท. และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผสานนวัตกรรมพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ทั้ง BESS, Block Chain และ AI เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้า รวม 6 เมกะวัตต์ โดยซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบเอกชนกับเอกชน (Private PPA) ลงทุนประมาณ 150 ล้านบาท ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าให้กับมหาวิทยาลัยได้กว่า 510 ล้านบาทตลอดอายุโครงการ 25 ปี และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 115,000 ตัน พร้อมยกระดับเป็น ศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นโมเดลเมืองพลังงาน Microgrid อัจฉริยะ นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) โครงการความร่วมมือวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีทำร่วมกับบริษัทผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด จะเป็นการบูรณาการการผลิตไฟฟ้าจาก Solar Rooftop หลังคาทางเดิน Floating Solar รวมกันประมาณ 6 เมกะวัตต์ แล้วก็เรายังมีส่วนที่เป็นองค์ประกอบระบบของ BESS หรือ Battery Energy Storage System ร่วมทั้งเราก็เสริมด้วยระบบบริหารจัดการทางด้าน AI และ Block Chain เข้ามาเพื่อให้เป็นระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ เป็นแพลตฟอร์มให้กับมหาวิทยาลัยใช้ในการประยุกต์ในเรื่องของงานวิจัย และเสริมทักษะของนักศึกษา จะได้ใช้งานจากระบบที่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์จริงๆ สำหรับโครงการดังกล่าว แบ่งการติดตั้งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ของอาคารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 8 อาคาร ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 1.68 เมกะวัตต์ การติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณหลังคาทางเดิน อาคารบริหาร ขนาดกำลังติดตั้ง 60 กิโลวัตต์ ด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบชนิด Bifacial Cells แทนการใช้หลังคาทั่วไป และการติดตั้งโซลาร์ชนิดลอยน้ำ (Solar Floating) ในอ่างเก็บน้ำสุระ 1 ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ 4.312 เมกะวัตต์ ซึ่งจุดเด่นของระบบนี้อยู่ที่ทุ่นลอยน้ำซึ่งเป็นเทคโนโลยีของกลุ่มปตท. โดยบริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด เป็นผู้ออกแบบและผลิตทุ่นลอยน้ำ โดยใช้วัตถุดิบ (Raw Material) ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC บริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเกรดพิเศษที่ผสมของสารกันแสง UV จากที่มีคุณสมบัติคงทนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้หลังจากสิ้นสุดอายุการใช้งาน 25 ปี รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แพสุวรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ใช้ปริมาณไฟฟ้าค่อยข้างเยอะมาก เพราะเรามีห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาล สถานที่การเรียนการสอนเยอะประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี เพราะฉะนั้นโครงการความร่วมมือคราวนี้ น่าจะทำให้เราสามารถลดภาระค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ สามารถที่จะใช้พลังงานสะอาดโดยที่ลดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ สิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องงานวิจัย เพราะว่านักวิจัยของเราทำงานวิจัยเกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงาน Solar Energy อยู่แล้ว ไม่ใช่แค่การมีแผงโซลาร์เซลล์ มันมีเทคโนโลยีประกอบมากมาย ตัวอย่างเช่น นวัตกรรมด้านการผลิตพลังงานทางเลือก การกักเก็บโดยใช้แบตเตอร์รี่ แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตผมคิดว่าเราจะทำความร่วมมือในมิติอื่นๆ ของการผลิตพลังงานทางเลือก ในอนาคตโครงการฯ ยังมีแผนจัดตั้งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานด้านการศึกษาและชุมชนต่างๆ เพื่อเข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระบบ Microgrid และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่สามารถผลิตใช้ได้เอง และช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แสดงเพิ่ม