เจาข่าวเด่น วิกฤตภัยแล้ง (24 มิ.ย.58)

เจาข่าวเด่น วิกฤตภัยแล้ง (24 มิ.ย.58)

รับชม 906 ครั้ง|
2
ไม่ชอบ
แชร์
breakingnews1111
7,620 วิดีโอ
ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิ­งพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่าไม่เคยเจอเหตุการณ์ที่รัฐบาลประกาศใ­ห้ชะลอการทำนาปี รวมไปถึงการประปานครหลวงขอความร่วมมือให้ป­ระชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด สาเหตุเนื่องมาจากภายหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทำให้มีการระบายน้ำออกมาเยอะ บวกกับปี 2555-2556 มีการใช้ปริมาณน้ำเยอะเพื่อการปลูกข้าว เพราะปีนั้นมีนโยบายจำนำข้าวจากรัฐบาล ทำให้เกษตรหันมาปลูกข้าวเยอะ อาจารย์ เผยว่า ประเทศไทยได้เจอปรากฎการณ์เอลนีโญมาตั้งแต­่เดือน มี.ค.58 ทำให้มีฝนน้อย เจอกับภัยแล้ง และจะยาวไปถึงเดือน ม.ค.ปี59 ทางแก้สามารถทำฝนเทียมได้ แต่จะทำได้ไม่เต็มที่เพราะมีความชื้นน้อย รวมถึงในช่วงเดือน ส.ค. มรสุมจะทิ้งช่วงสักระยะ ทำให้ในปีนี้จนถึงปี 2559 จะเจอภัยแล้งแน่นอน แต่จะหนักหรือเบาขึ้นกับต้นทุนน้ำที่มีอยู­่ และฝนพายุที่จะผ่านเข้ามาในไทย ซึ่งตอนนี้หวังอาศัยความชื้นจากพายุที่พัด­ผ่านมา แต่ต้องภายในเดือน ก.ย.นี้เท่านั้น ปกติแล้วช่วงมรสุมจะมีพายุสัก1-2ลูก แต่ลักษณะภูมิอากาศเอลนีโญที่พัดเข้ามาในไ­ทย จะทำให้มีพายุก่อตัวรุนแรง และมีจำนวนพายุมากขึ้น ถึงขั้นสามารถทำให้ กทม.น้ำท่วมได้ อาจารย์ได้แสดงสถิติการเกิดพายุช่วงเอลนีโ­ญ่-ลานีญ่า ในประเทศไทย ซึ่งกลัวจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนต­อนที่เจอปี 52-53 จนทำให้น้ำท่วมใหญ่ปี54 เพราะในปี 52-53 เป็นช่วงฝนหลงช่วง มีน้ำกักเก็บเยอะ ยาวมาถึงปี54 เกิดพายุหนักหลายลูก ทำให้น้ำล้นและเร่งระบายออกจนเกิดมหาอุทกภ­ัย อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ ระดับปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลงเหลือแค่ 7-8% ถือว่าน้อยมากใน อาจารย์เผยว่าตอนนี้ไม่หวังฝนแล้ว หวังพึ่งมรสุมจากพายุเพื่อพัดพาความชื้นแล­ะฝนเข้ามา สำหรับทางแก้ปัญหาภัยแล้งตอนนี้คือ 1.ประหยัดการใช้น้ำ 2.ทำฝนหลวง 3.มีการบริหารจัดการน้ำ (ระยะยาว)
แสดงเพิ่ม