เกษตรแปลงใหญ่

เกษตรแปลงใหญ่

รับชม 75 ครั้ง|
1
ไม่ชอบ
แชร์
mynameis_nung
10 วิดีโอ
โครงการปรับโครงสร้างและพัฒนาการผลิตสินค้าประมงเป็นหนึ่งในนโยบาย "เกษตรแปลงใหญ่” ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กำลังดำเนินการในปี 2558 มุ่งเน้นเป้าหมาย 4 ด้าน ลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เกิดระบบตลาด และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้เกษตรกร โดยมุ่งเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพด้วยการตรวจประเมินฟาร์มให้ได้มาตรฐานการผลิต ภายใต้การทำประมงอย่างรับผิดชอบไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สำหรับลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญของเกษตรแปลงใหญ่ คือ การรวมกลุ่มของเกษตรกรเจ้าของพื้นที่แปลงเล็กให้เกิดการรวมกลุ่มกลายเป็นการบริหารร่วมกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ทำการเกษตรชนิดเดียวกัน (ใช้หลักการจัดการแบบแปลงใหญ่ รวบรวมผู้ผลิตขนาดเล็กเข้ามาบริหารร่วมกัน และมีผู้จัดการฟาร์มควบคุมดูแลการผลิตและจำหน่าย)ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น ทั้งการจัดหาปัจจัยการผลิต และการจำหน่ายผลผลิต โดยมีภาครัฐเป็น "ผู้จัดการ” ซึ่งจะมีการกำหนดแผนการดำเนินงานและเป้าหมาย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพ กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น GAP และเน้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ช่วยในการเชื่อมโยงด้านการตลาด แต่เกษตรกรจะไม่เสียสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดิน การเลือกใช้ปัจจัยการผลิต มีการตัดสินใจร่วมกันในการผลิต การใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นการประหยัดและลดต้นทุน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้จนสามารถยืนหยัดอยู่ร่วมกันในสภาวะที่โลกมีเปลี่ยนแปลงได้ สำหรับการปรับโครงสร้างสินค้าประมงเข้าสู่ระบบแปลงใหญ่กรมประมงได้มีการนำร่องในสินค้า ภาคการประมง 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งทะเล หอยแครง และปลานิล เนื่องจากสินค้าทั้ง 3 ชนิดดังกล่าว เป็นสินค้าภาคประมงที่มีมูลค่าสูงในการทำรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วคือ - โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกุ้งทะเลอย่างครบวงจร ดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ และตราด - โครงการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งผลิตหอยแครง ดำเนินการที่จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงหอยแครงมานานจึงมีความเสื่อมโทรมทั้งพื้นที่และผลผลิต - โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงปลานิลแบบครบวงจร ดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย กาฬสินธุ์ ชลบุรี และนครศรีธรรมราช สามารถลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลได้อย่างน้อยร้อยละ 10 มีการรวมกลุ่มแปรรูปได้อย่างน้อย 5 กลุ่ม และมีฟาร์มที่ได้การรับรอง GAP อย่างน้อย 400 ฟาร์ม สามารถจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 4 กลุ่ม และจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์ได้ 4 กลุ่ม ด้านการตลาดสามารถส่งจำหน่ายผลผลิตปลานิลในห้างสรรพสินค้าได้จังหวัดละ 1 แห่ง
แสดงเพิ่ม