กบนอกกะลา : เรือกอและ วิถีชาวเล มลายู ช่วงที่ 4/4 (17พ.ย.59)

กบนอกกะลา : เรือกอและ วิถีชาวเล มลายู ช่วงที่ 4/4 (17พ.ย.59)

รับชม 53 ครั้ง|
2
ไม่ชอบ
แชร์
tvburabha
2,078 วิดีโอ
เผยแพร่เมื่อ 20 พ.ย. 2016 กบนอกกะลาพาล่องใต้สุดแดนสยามกันที่จังหวัดนราธิวาสตามหาความรู้ของกอและเรือประมงพื้นบ้านของแหลมมลายูที่มีรูปร่างหน้าตาอันเป็นเอกลักษณ์ด้วยลวดลายอันวิจิตรสวยงามสีสันสะดุดตาเสมือนงานศิลป์ที่ล่องลอยอยู่กับท้องทะเลสีครามไปหาคำตอบกันว่าทำไมเรือกอและถึงเป็นที่นิยมของทะเลฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยทำไมเรือกอและต้องมีลวดลายและจะมีคุณค่าและความหมายใดซุกซ่อนอยู่บ้างจุดเริ่มต้นของการเดินทางตามหาความรู้ของเรือกอและกบตั้วเดินทางมาอยู่ที่ปากแม่น้ำบางนราซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนชาวประมงท้องถิ่นเก่าแก่มีเรือกอและจอดเรียงรายตามแนวลำคลองในหมู่บ้านซึ่งที่นี้ส่วนใหญ่นิยมพูดภาษายาวีแต่เราโชคดีที่ได้พบกับแบเลาะชาวประมงเจ้าของเรือกอและลำงามที่เทียบท่าอยู่ในหมู่บ้านแบเลาะอธิบายถึงจุดเด่นและหน้าตาของเรือกอและให้เห็นอย่างเด่นชัดพร้อมทั้งยังพาเราลองไปล่องเรือดูว่าเรือกอและนั้นบังคับและแล่นเรืออย่างไรและเสริมความรู้ให้อีกว่าทำไมถึงเรือกอและถึงเป็นที่นิยมใช้และทำไมเหมาะสมกับทะเลถิ่นนี้ด้วยหน้าตาอันเป็นเอกลักษณ์และสีสันอันฉูดฉาดสวยงามทำให้เราต้องออกเดินทางตามหาช่างต่อเรือในตำนานซึ่งได้ข้อมูลมาว่าแหล่งใหญ่ๆนั้นอยู่ที่ ตำบลปะเสยยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี หมู่บ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมืองจ.นราธิวาสและบ้านคลองตันต.ไพรวันอ.ตากใบจ.นราธิวาสเพื่อให้เราได้เห็นถึงขั้นตอนกระบวนการต่อเรือและภูมิปัญญาการต่อเรือแบบโบราณดั่งเดิมเราจึงเดินทางไปขอความรู้กับเจ๊ะมุช่างที่เหลือ 1 เดียวในอ.ตากใบ จ.นราธิวาส การต่อไม้กับไม้ให้เกิดเป็นเรือที่มีรูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์ จะยุ่งยากและสลับซับซ่อนสักแค่ไหน เรือที่ไม่มีตะปูจะต่อกันได้อย่างไร เชื่อหรือไม่ เปลือกไม้ ที่ดูเหมือนไม่สามารถใช้ประโยชน์ ได้แต่กลับเป็นหัวใจสำคัญของการต่อเรือ แต่จะคืออะไร และ ใช้อย่างไรต้องห้ามพลาดชมอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการต่อเรือให้เสร็จสมบูรณ์สวยงามก็คือ การวาดลวดลาย เจ้าของเรือจะส่งเรือไปให้กับศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้แต่งแต้มสีสันลงบนลำเรือ ซึ่งที่มาของ ลวดลาย บนเรือกอและเกิดขึ้นมาเมื่อไร ทำไมเรือกอและถึงต้องวาดลวดลาย ที่สำคัญใน ความงดงาม ของลวดลายเหล่านี้มีคุณค่า ความหมาย และความสำคัญอย่างไร บทบาทของเรือกอและ นอกจากจะเป็นยานพาหนะทำประมงที่สำคัญ ของชาว ไทยมุสลิมแล้ว อีกบทบาทที่สำคัญก็คือ การเป็นเรือที่ใช้ในกิจกรรมนันทนาการชุมชน ในยามว่าง หรืองานเทศกาล อย่างเช่น วันฮารีรายอ วันละศีลอด ชาวไทยมุสลิมจะหยุดออกหาปลา ประมาณ 1-3 วัน เพื่อร่วมพิธีทางศาสนาและมีการละเล่น มหรสพอย่างสนุกสนานครื้นเครง แต่จากการละเล่น ของแต่ละหมู่บ้าน ถูกพัฒนากลายเป็นงานประเพณีประจำปีการแข่งขันเรือกอและ เรือยอกอง และ เรือคชสีห์นานาชาติ ด้วยฝีพาย ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เป็นประจำทุกปี ใครจะคืนเจ้าลมกรดแห่งสายน้ำบางนรา มาร่วมลุ้นร่วมเชียร์พร้อมๆ กัน ติดตามข่าวสารทีวีบูรพาเพิ่มเติมได้ที่ http://tvburabha.com/ https://www.facebook.com/tvburabha https://instagram.com/tvburabha https://www.facebook.com/kobnokkala
แสดงเพิ่ม